1) ในปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) จากสถิติการยื่นขอส่งเสริมของโครงการลงทุนในไทย มีมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 110.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -6 ต่อปี และที่ได้รับการอนุมัติแล้วในปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่าเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 88.7 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ -11 ต่อปี

2) ในปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) จากสถิติการยื่นขอส่งเสริมของโครงการลงทุนเฉพาะของต่างประเทศ มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 77.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 ต่อปี โดยประเทศไต้หวันมีมูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุด 37.1 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48 ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด (มีโครงการลงทุนเพื่อผลิตรถยนต์ ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนสูง ทำให้ตัวเลขเงินลงทุนจากไต้หวันสูงขึ้นมากกว่าปกติ เทียบกับทั้งปี 2564 อยู่ที่ 21.8 พันล้านบาท) รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าเงินลงทุน 13.8 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด

3) ในปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) จากสถิติการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนเฉพาะของต่างประเทศในอุตสาหกรรมเป้าหมาย มูลค่ารวม 60.3 พันล้านบาท หากจำแนกตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย มูลค่าการลงทุนสูงสุดอยู่ในหมวดยานยนต์และชิ้นส่วน มูลค่ารวม 41.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 69 ของมูลค่าเงินลงทุนรวมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รองลงมาอยุ่ในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่ารวม 9.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของมูลค่าเงินลงทุนรวมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย    

สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ  รายเดือนสะสมปี 2565 (มกราคม-มีนาคม)

  • สถิติการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติในปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมจานวน 198 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 77,290 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 (ม.ค.-มี.ค.) จานวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ส่วนมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29

  • จำนวนโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนคิดเป็น ร้อยละ 52 ของจานวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น (378 โครงการ) มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่า เงินลงทุนทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม (110,730 ล้านบาท)

  • จำนวนโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในเดือน มกราคม-มีนาคม ของปี 2565 ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดบริการและสาธารณูปโภค จานวน 55 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 28 ของจานวนโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น รองลงมาเป็นหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง จานวน 51 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 26

  • ในด้านของมูลค่าเงินลงทุน ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มูลค่ารวม 44,729 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58 ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น รองลงมา เป็นหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่ารวม 9,848 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13

โครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน แยกตามประเภทอุตสาหกรรม

  • โครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมเป็นโครงการขยายจานวน 164 โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุน 65,473 ล้านบาท ส่วนโครงการใหม่มีจานวน 34โครงการ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 11,817 ล้านบาท

โครงการลงทุนต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน ตามประเภทโครงการ (% ของจานวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งสิ้น)

  • จากจานวนโครงการต่างชาติทั้งหมดที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ของปี 2565 ญี่ปุ่นมีจานวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุด 45 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 23 ของโครงการลงทุนต่างประเทศทั้งหมด สาหรับมูลค่าเงินลงทุนสูงที่สุดมาจากไต้หวัน มูลค่ารวม 37,076 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48 ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศ ที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น

แหล่งที่มาของเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ขอรับการส่งเสริม 10 อันดับแรก

*หมายเหตุ: มีโครงการลงทุนจากไต้หวันเพื่อผลิตรถยนต์์ ซึ่งมีเงินลงทุนสูง เป็นเหตุให้ตัวเลขเงินลงทุนจากไต้หวันเพิ่มขึ้นมาก

  • โครงการที่นักลงทุนต่างชาติยื่นขอรับการส่งเสริมอยู่ในภาคกลาง จานวน 90 โครงการ (20,502 ล้านบาท) ภาคตะวันออก จานวน 81 โครงการ (53,924 ล้านบาท) ภาคใต้ จานวน 8 โครงการ (477 ล้านบาท) ภาคเหนือจานวน 8 โครงการ (129 ล้านบาท) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 6 โครงการ (1,945 ล้านบาท) ภาคตะวันตก จานวน 4 โครงการ (148 ล้านบาท) และอื่นๆ* จานวน 1 โครงการ (165 ล้านบาท) *หมายเหตุ: อื่นๆ คือ กิจการที่ไม่มีที่ตั้งแน่นอน เช่น กิจการขนส่งทางเรือ กิจการขนส่งทางอากาศ เป็นต้น

  • โครงการต่างชาติที่ผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 80 ขึ้นไป มีจานวน 50 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 25 ของโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งหมด และมีมูลค่ารวม 10,904 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14 ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งสิ้นที่ยื่นขอรับการส่งเสริม
  • โครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 จะก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 21,471 คน

การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

  • โครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เดือนมกราคม-มีนาคม 2565 มีจานวน 108 โครงการ มูลค่ารวม 60,347 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55 และร้อยละ 78 ของโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้นตามลาดับ
  • ในแง่ของจานวนโครงการ ส่วนใหญ่เป็นการขอรับการส่งเสริม ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน จานวน 27 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 25 ของจานวนโครงการต่างชาติที่ยื่นขอรับการส่งเสริมในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะอื่นๆ รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมละ 23 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 21 โดยในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตชิ้นส่วนสาหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ และกิจการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ และในอุตสาหกรรมดิจิทัล ส่วนใหญ่เป็นกิจการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล หรือ ดิจิทัลคอนเทนต์

  • ในแง่ของมูลค่าการลงทุน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วน มูลค่ารวม 41,579 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 69 ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมของโครงการต่างชาติในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่ารวม 9,602 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 ของมูลค่า การขอรับการส่งเสริมของโครงการต่างชาติในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งหมด

การขอรับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย

คาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 มีการลงทุนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุน ดังนี้

  • โครงการต่างชาติในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม มีคาขอรับการส่งเสริม 70 โครงการ มูลค่ารวม 22,921 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดชลบุรี และระยอง
  • โครงการในพื้นที่ EEC ที่ยื่นขอรับการส่งเสริม จานวน 74 โครงการ มูลค่ารวม 53,338 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดระยอง
  • โครงการต่างชาติในพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่า มีคาขอรับ การส่งเสริม 3 โครงการ มูลค่ารวม 103 ล้านบาท ได้แก่
    - กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้าจากพลังงานหมุนเวียน ตั้งอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม และจังหวัดสระแก้ว


  • สถิติโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) มีจานวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 168 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 69,596 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 (ม.ค.-มี.ค.) ในช่วงเวลาเดียวกัน จานวนโครงการลดลงร้อยละ 19 มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11

  • จำนวนโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนคิดเป็น ร้อยละ 51 ของจานวนโครงการทั้งสิ้นที่ได้รับอนุมัติ (327 โครงการ) มูลค่า เงินลงทุนคิดเป็นร้อยละ 78 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้นที่ได้รับอนุมัติ (88,720 ล้านบาท)
  • จานวนโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในเดือน ม.ค.-มี.ค. ของปี 2565 ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดบริการและสาธารณูปโภค จานวน 48 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 29 ของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น รองลงมาเป็นหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จานวน 46 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 27

  • ในด้านของมูลค่าเงินลงทุน ส่วนใหญ่อยู่ในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่ารวม 20,401 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29 ของเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมมูลค่าสูง (เงินลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป) อาทิ กิจการผลิต Flexible Printed Circuit Board และ/หรือ Multilayer Printed Circuit Board มูลค่า 3,838 ล้านบาท กิจการผลิต Hard Disk Drive ทั่วไป และ/หรือชิ้นส่วน (2 โครงการ) มูลค่ารวม 6,116 ล้านบาท กิจการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สาหรับระบบใยแก้ว นาแสง (Optical Fiber) และระบบไร้สาย (Wireless) มูลค่า 1,230 ล้านบาท กิจการผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์สาหรับโทรคมนาคม มูลค่า 1,163 ล้านบาท เป็นต้น รองลงมาเป็นหมวดอุตสาหกรรมเบา มูลค่ารวม 18,796 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27 โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมมูลค่าสูง (เงินลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป) อาทิ กิจการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ มูลค่า 14,794 ล้านบาท กิจการผลิตอัญมณี และเครื่องประดับหรือชิ้นส่วน รวมถึงวัตถุดิบและต้นแบบ มูลค่า 2,000 ล้านบาท เป็นต้น

  • ในเดือนมกราคม-มีนาคม ของปี 2565 มีโครงการต่างชาติขนาดใหญ่ ที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม (เงินลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป) อาทิ กิจการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ มูลค่า 14,794 ล้านบาท กิจการผลิต Advanced หรือ Nano Materials มูลค่า 8,087 ล้านบาท กิจการ ผลิต Hard Disk Drive ทั่วไป และ/หรือชิ้นส่วน (2 โครงการ) มูลค่ารวม 6,116 ล้านบาท กิจการผลิต Flexible Printed Circuit Board และ/หรือ Multilayer Printed Circuit Board มูลค่า 3,838 ล้านบาท กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าและไอน้าจากพลังงานอื่นๆ มูลค่า 3,663 ล้านบาท กิจการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการอุตสาหกรรม มูลค่า 3,160 ล้านบาท กิจการผลิตอัญมณี และเครื่องประดับ หรือชิ้นส่วน รวมถึงวัตถุดิบและต้นแบบ มูลค่า 2,000 ล้านบาท กิจการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สาหรับระบบ ใยแก้วนาแสง (Optical Fiber) และระบบไร้สาย (Wireless) มูลค่า 1,230 ล้านบาท เป็นต้น

  • ในด้านของจานวนโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติส่วนใหญ่เป็นโครงการขยายจานวน 130 โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 61,901 ล้านบาท ส่วนโครงการใหม่มีจานวน 38 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 7,695 ล้านบาท

  • แหล่งที่มาของเงินลงทุนในโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม การลงทุนส่วนใหญ่มาจาก ญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการลงทุน จากต่างประเทศทั้งหมด โดยมูลค่าเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากโครงการขนาดใหญ่ (เงินลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป) อาทิ กิจการผลิต Advanced หรือ Nano Materials มูลค่า 8,087 ล้านบาท กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า มูลค่า 3,663 ล้านบาท กิจการผลิต Hard Disk Drive ทั่วไป และ/หรือ ชิ้นส่วน มูลค่า 2,916 ล้านบาท กิจการผลิตชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์สาหรับโทรคมนาคม มูลค่า 1,163 ล้านบาท เป็นต้น
  • รองลงมาเป็น ออสเตรีย คิดเป็นร้อยละ 21 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด โดยมูลค่าเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากโครงการขนาดใหญ่ (เงินลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป) อาทิ กิจการผลิตเส้นใยที่มีคุณสมบัติพิเศษ มูลค่า 14,794 ล้านบาท เป็นต้น
  • อันดับที่สาม ได้แก่ จีน คิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด โดยมูลค่าเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากโครงการขนาดใหญ่ (เงินลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป) อาทิ กิจการผลิต Flexible Printed Circuit Board และ/หรือ Multilayer Printed Circuit Board มูลค่า 3,838 ล้านบาท เป็นต้น
  • ในแง่ของจานวนโครงการ ญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมมากที่สุด จานวน 49 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของจานวนโครงการลงทุนต่างชาติทั้งหมด

  • โครงการที่นักลงทุนต่างชาติได้รับการอนุมัติอยู่ในภาคกลางจานวน 80 โครงการ (14,802 ล้านบาท) ภาคตะวันออกจานวน 61 โครงการ (39,375 ล้านบาท) ภาคเหนือจานวน 12 โครงการ (11,297 ล้านบาท) ภาคใต้จานวน 8 โครงการ (2,768 ล้านบาท) ภาคตะวันตกจานวน 4 โครงการ (1,185 ล้านบาท) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจานวน 2 โครงการ (6 ล้านบาท) และอื่นๆ* จานวน 1 โครงการ (165 ล้านบาท) * หมายเหตุ: อื่นๆ คือ กิจการที่ไม่มีที่ตั้งแน่นอน เช่น กิจการขนส่งทางเรือ กิจการขนส่งทางอากาศ เป็นต้น

  • โครงการต่างชาติที่ผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 80 ขึ้นไป มีจานวน 50 โครงการ มูลค่ารวม 46,867 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30 และร้อยละ 67 ของโครงการต่างชาติที่ได้รับการอนุมัติทั้งสิ้น ตามลาดับ
  • โครงการต่างชาติที่ได้รับการอนุมัติในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 จะก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 18,977 คน

การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

  • โครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 มีจานวน 92 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 55 ของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งสิ้น มูลค่ารวม 33,902 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49 ของมูลค่าโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งหมด
  • ในแง่ของจานวนโครงการ โครงการต่างชาติส่วนใหญ่ได้รับอนุมัติ ให้การส่งเสริมในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ จานวน 32 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 35 ของจานวนโครงการต่างชาติที่ได้รับการส่งเสริมในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งสิ้น รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและ แปรรูปอาหาร จานวน 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 17
  • ในแง่ของมูลค่าการลงทุน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 20,095 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59 ของมูลค่าโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งหมด รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรและแปรรูปอาหาร มูลค่า 7,088ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21 ของมูลค่าโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งหมด

การอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย

การอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในเดือนมกราคม -มีนาคม ปี 2565 มีการลงทุนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ดังนี้

  • โครงการต่างชาติในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม มีจานวน 68 โครงการ มูลค่ารวม 50,433 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก ที่จังหวัดระยองและชลบุรี
  • โครงการในพื้นที่ EEC ที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จานวน 52 โครงการ มูลค่ารวม 23,576 ล้านบาท ได้แก่
    - จังหวัดชลบุรี จานวน 27 โครงการ มูลค่า 7,963 ล้านบาท
    - จังหวัดระยอง จานวน 17 โครงการ มูลค่า 11,108 ล้านบาท
    - จังหวัดฉะเชิงเทรา จานวน 8 โครงการ มูลค่า 4,506 ล้านบาท
  • โครงการต่างชาติในพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่าที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม มีจานวน 1 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 2 ล้านบาท ได้แก่
    - กิจการพัฒนา Enterprise Software และ/หรือ Digital Content ตั้งอยู่ที่จังหวัดศรีสะเกษ

ประโยชน์ของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน ในปี 2565 (มกราคม-มีนาคม)

  • โครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติจะมีการส่งออกสร้างรายได้สู่ประเทศ ปีละประมาณ 238,571 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกส่วนใหญ่มาจาก หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าประมาณ 169,890 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71 ของรายได้จากการส่งออกของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งหมด รองลงมาเป็นหมวดอุตสาหกรรมเบา มูลค่าประมาณ 28,102 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12
  • โครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติจะใช้วัตถุดิบภายในประเทศมูลค่าประมาณ 73,469 ล้านบาทต่อปี โดยโครงการในหมวดอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะใช้วัตถุดิบภายในประเทศมากเป็นอันดับ 1 มูลค่าประมาณ 29,061 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 40 ของมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งหมด รองลงมาเป็นหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร มูลค่าประมาณ 16,446 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22
  • โครงการต่างชาติที่ได้รับการอนุมัติในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 จะก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยประมาณ 18,977 คน โดยจะมี การจ้างแรงงานไทยมากที่สุดในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 8,830 ตาแหน่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของจานวนการจ้างแรงงานไทยของโครงการต่างชาติที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมทั้งหมด รองลงมาเป็นหมวดอุตสาหกรรมเบาประมาณ 5,673 ตาแหน่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 30

ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2565

กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ

หมายเหตุ :

1) สถิติในรายงานนี้แสดงข้อมูลโครงการลงทุนจากต่างชาติ (ที่ถือหุ้นต่างชาติตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป)

2) สถิติของสานักงานจะครอบคลุมเฉพาะโครงการที่มาขอรับการส่งเสริมการลงทุนและได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมจากสานักงานเท่านั้น ไม่ใช่ข้อมูลสถิติการลงทุนจากต่างชาติของทั้งประเทศ

3) ข้อมูลในขั้นคาขอสุทธิเป็นข้อมูลแสดงความจานงที่จะลงทุนเป็นตัวชี้แนวโน้ม FDI

4) สถิติขั้นคาขอสุทธิ คือ คาขอฯ ในแต่ละปีที่หักโครงการที่คืนคาขอฯ จนถึงวันประมวลผล

5) ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2563 สหภาพยุโรป (European Union) ประกอบด้วย 27 ประเทศ เนื่องจากสหราชอาณาจักรประกาศถอนตัวอย่างเป็นทางการ