โควิด-19 ถือเป็นวิกฤติครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดใน generation ของเรา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนปแลงในด้านของการเสพสื่อ มาดูกันว่า Media Trend ใดบ้างที่จะเป็นกระแสหลังจบวิกฤติครั้งนี้

เราพบว่ามีเทรนด์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย บางเทรนด์ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความต้องการของคนไทย และน่าจะมีผลต่อเนื่องหลังจบโควิด-19 ไปแล้ว แต่บางเทรนด์นาจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ หากไม่มีการปรับตัว หรือพัฒนาก็อาจจะเป็นเหมือนพลุไฟที่ดังเร็วดับไว เรามาดูกันนะคะ

เทรนด์ 1 Online กลายมาเป็น mainstream ตีคู่ไปกับสื่อทีวี โควิด -19 เป็นตัวเร่งให้คนไทยปรับตัวรับกับ Digital lifestyle อย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นรูปแบบการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ ผู้คนใช้สื่อ Online มากขึ้น เพราะมีความยืดหยุ่น Personalization ได้เยอะ ตอบโจทย์ที่ซับซ้อนขึ้นของผู้บริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นการข่าวสาร บันเทิง จนกระทั้งการซื้อของ สถานการณ์วิกฤติผลักดันทำให้เข้าถึงบริการ หรือ Platform ที่หลากหลายมากขึ้น 

ขณะเดียวกัน Digital ecosystem ของไทยเอง ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ มีการออกสินค้า /บริการ / Platform ใหม่ๆ ออกมา เมื่อ Demand เจอกับ Supply ที่สอดคล้องกันเช่นนี้ ก็ทำให้ Online มีผลมากต่อคนหนุ่มสาว Millennial และ Gen Z รวมถึงผู้บริโภคในเมืองใหญ่ แม้ว่ากลุ่มคนเช่น Gen X และ Baby boomer จะใช้ Online เพิ่มมากขึ้น แต่ยังใช้สื่อทีวีเป็นหลัก เราจึงไม่ควรทิ้งทีวี และสนใจ Online เพียงอย่างเดียว

เทรนด์ 2 Platform ที่ให้บริการ Podcast / Audio streaming น่าจะมีการเติบโตต่อไปหลังโควิด-19 โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ต้องการพัฒนาตนเอง และเรียนรู้ เราพบว่าช่วงโควิด -19 มีการใช้บริการ Podcast / Audio streaming เพิ่มมากขึ้น เพราะคนไทยชอบฟังมากกว่าอ่าน เข้ากับ lifestyle ได้ดี

 

แถมเทคโนโลยีเสียงช่วยให้เกิด Emotional connection ซึ่งสำคัญมากขึ้นเวลาที่เราไม่สามารถใกล้ชิด หรือพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว เสียง เป็นสื่อที่มีอิทธิพล เพราะมีความเป็นมนุษย์สูง เหมือนคนที่พูดอยู่ใกล้ชิดกับเรา สะท้อนถึงบุคคลิกภาพ และตัวตนของเขา ผ่านทางคำพูด น้ำเสียง รวมถึงการเล่าเรื่อง เทรนด์นี้น่าจะไปต่อ แต่จะปังแค่ไหน ขึ้นอยู่กับ content ว่าน่าสนใจและตรงความต้องการหรือไม่

 

เทรนด์ 3 คือ e-commerce จะเป็นส่วนหนึ่งของ Customer Journey แบบถาวร เส้นแบ่งระหว่าง Online / Offline shopping จะจางลงไป ผู้คนจะใช้ e-commerce ต่อไป เพราะความสะดวก ความยืดหยุ่นของเวลาจับจ่ายใช้สอย รวมถึงความหลากหลายของสินค้าและบริการ Social commerce ก็น่าจะเติบโตมากขึ้น เพราะเรายังคงใช้ Social Media สูงต่อไป

ในช่วงโควิด -19 มี Online Commercial Community เกิดขึ้น เช่น ธรรมศาสตร์ฝากร้าน ซึ่งมีจุดเด่น คือ ความไว้วางใจกัน และการมี Identity ร่วมกัน จากนี้ยังเป็น Market Place ที่สะท้อนให้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูลแบบไทยๆ

แต่รูปแบบนี้อาจจะเกิดและจบเร็ว หากไม่สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าและบริหารจัดการ community ให้ตอบโจทย์เรื่องของ User Experience ได้ดี แต่หากยังคงมาตรฐานเอาไว้ได้ก็จะความนิยมต่อเนื่องและอาจมีรูปแบบหลากหลายขึ้น เช่น Market Place ในหมู่บ้านเดียวกันหรือชุมชนเดียวกัน

เทรนด์ 4 คือ Home Entertainment เมื่อหมดโควิด -19 เราคาดว่าคนไทยน่าจะยังให้ความสำคัญกับการมีความสุขที่บ้านและใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน นิยามของความสุขของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป เราจะให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ๆ ตัว ความสุขเล็กๆ แต่ลึกซึ้ง เป็นการใช้เวลากับครอบครัวและเพื่อน

นอกจากนี้ความกังวลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะมีผลให้คนไทยรู้สึกว่าการทำกิจกรรมที่บ้านปลอดภัยที่สุด ดังนั้นสินค้าและบริการที่ส่งเสริมกิจกรรมในบ้านจึงน่าจะเป็นเทรนด์ที่ใช้ต่อไป ไม่ว่าจะเป็น Online gaming, Streaming services, Virtual Parties หรือ Home delivery

เทรนด์ 5 Online VDO ที่มีความนิยมอย่างแพร่หลาย จากเดิมที่คนไทยชอบดู Short VDO ในช่วงแรกๆ ตอนนี้ความนิยมใน Long-form VDO มีมากขึ้น Online VDO ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดี เพราะเนื้อหาเป็นแบบ On-demand เลือกได้ตามใจต้องการในเวลาไหนก็ได้ คนเรามี Personal Prime time ไม่ตรงกัน จึงต้องการ Personalized Content ในเวลาที่ต่างกัน ส่งผลให้ Online VDO ตอบโจทย์ได้ดี เราก็จะเห็น Content ของ TV เข้าไปอยู่ใน Online VDO มากขึ้นอีกด้วย

เทรนด์ของสื่อจะดังเร็ว อยู่นาน หรือ ดับไว ขึ้นอยู่กับ ประเด็นใหญ่ๆ อย่างแรกคือ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างลึกซึ้งจริงไหม และอย่างที่สอง คือ มีพัฒนาการในเรื่องของ Content และรูปแบบที่สดใหม่ Update อยู่เสมอหรือไม่ คนไทยเบื่อง่ายก็จริง แต่ถ้าอะไรที่ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น ง่ายขึ้น สนุกขึ้น ก็ยังเป็นเทรนด์ต่อเนื่องต่อไป

SOURCE : www.bangkokbiznews.com