เคยนึกสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเมื่อมีการประกาศหาเจ้าภาพจัด โอลิมปิก เมื่อไร หลายประเทศต่างตื่นตัวที่จะได้เป็นเจ้าภาพกันทุกครั้ง โอลิมปิกให้อะไรกับเมืองและประเทศกันแน่?

            ประเทศที่เป็นเจ้าภาพการจัดงาน โอลิมปิก ในแต่ละครั้ง ต้องทุ่มเม็ดเงินลงทุนมหาศาลมากๆ โดยเม็ดเงินลงทุนนี้มีอายุการใช้งานเพียงแค่ 2 สัปดาห์ หมดฤดูกาลของ โอลิมปิก ก็คือจบกันไป ซึ่งการทุ่มเงินขนาดนี้ ล้วนให้บทเรียนแก่หลายประเทศเจ้าภาพมาหลายครั้ง อาทิ ปี 2008 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ สร้างรายได้จากโอลิมปิก 1.7 แสนล้านบาท แต่ขาดทุนถึง 1.2 ล้านล้านบาท ครั้งต่อมาในปี 2012 ที่อังกฤษเป็นเจ้าภาพ สร้างรายได้ 2.5 แสนล้านบาท แต่ขาดทุนถึง 3.2 แสนล้านบาท และในปี 2016 ที่บราซิล สร้างรายได้ 2.9 ล้านบาท แต่ขาดทุนถึง 3.4 แสนล้านบาท

            แล้วอย่างนี้โอลิมปิกให้ประโยชน์อะไรกับเมืองหรือประเทศกันแน่?

การเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬาระดับโลกอย่าง โอลิมปิก ที่เป็นที่จับตามองของประชากรจำนวนหลายพันล้านคน จากประเทศจำนวน 40-50 ประเทศที่เข้าร่วม ย่อมเป็นการฉายภาพตัวตนของประเทศของเราออกสู่สายตาชาวโลกได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นการที่หลายประเทศอยากเป็นเจ้าภาพจัดงาน จุดประสงค์หลักก็เพื่อที่จะแสดงความพร้อมถึงศักยภาพในประเทศตัวเอง ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการระบบต่างๆ และยังมีรายได้มหึมาจากการโฆษณา ถ่ายทอดสด รายได้จากนักกีฬาและทีมงาน และจากผู้ชมที่มาเข้าร่วมชมอีกด้วย ซึ่งพอสายตาชาวโลกเห็นว่าประเทศเราสามารถจัดมหกรรมกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดอย่างโอลิมปิกได้ ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนจากต่างประเทศย่อมตามมาได้ไม่ยาก

             ตัวอย่างประเทศเจ้าภาพที่ประสบความสำเร็จในการจัดโอลิมปิก คือ บาร์เซโลน่า, สเปน และ โซล, เกาหลีใต้

           บาร์เซโลน่า เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการลงทุนจัดโอลิมปิกได้อย่างคุ้มค่าในระยะยาว โดยเรียกได้ว่าเปลี่ยนเมืองกันไปแบบ Make-over เลยทีเดียว เพราะในช่วงปีที่บาร์เซโลน่าได้เป็นเจ้าภาพจัดงานในขณะนั้น กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราการว่างงานของประชากรที่สูงกว่า 20% แต่ผลจากการจัดโอลิมปิก บาร์เซโลน่าเหมือนได้เมืองใหม่ ที่มีความครบครันทั้งสาธารณูปโภค ถนน สถานที่ท่องเที่ยว โดยเกิดจากการหลอมรวมของลักษณะเฉพาะและความต้องการของแต่ละย่าน (Inclusiveness) ซึ่งความสำเร็จนี้ไม่ได้ปุบปับก็เห็นผล แต่ผ่านการวางแผน กระบวนการ และการแก้ไขปัญหามานับไม่ถ้วน

            อีกหนึ่งตัวอย่างคือที่ โซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยได้เป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกในปี 1988 ที่สามารถใช้ประโยชน์จากการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ก้าวออกจากประเทศกลุ่มกำลังพัฒนา กลายเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเต็มตัว ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้เกาหลีใต้จะเริ่มพัฒนาจากการเป็นผู้ผลิตและส่งออกเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลกไปแล้วก็ตาม เพราะว่าสามารถเอาชนะคะแนนโหวตเมืองเจ้าภาพจากเมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่นได้นั่นเอง

            สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิก คงจะเตรียมการเอาเพื่อเสร็จพร้อมใช้ทันการก็คงจะไม่เพียงพอ แต่ควรจะเตรียมตัวให้พร้อมก่อน เนื่องจากเม็ดเงินลงทุนสำหรับการจัดงานนั้นสูงมาก ซึ่งสุดท้ายก็จะแปรเปลี่ยนเป็นหนี้สาธารณะมาสู่ประชากร ดังนั้นหากต้องการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ประเทศไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อม สร้างความโดดเด่น ไม่ลงทุนเกินตัว เมื่อโอกาสมาถึง ประเทศเราจะได้รุดหน้าไปแสดงให้สายตาชาวโลกเห็นว่า ประเทศไทยนั้นดีเหลือเกิน