สำหรับคนขายสินค้า คนทำธุรกิจ ใครๆก็อยากที่จะส่งออกสินค้าของตัวเองออกไปสู่ตลาดโลก กระจายฐานลูกค้าไปยังประเทศต่างๆ เพื่อสร้างผลกำไร และการเติบโตของธุรกิจที่ยังยืน วันนี้ทาง Terrabkk จึงขอนำเรื่องราวของ Incoterms มาให้ลองศึกษาดูกัน

          Incoterms (International Commercial Terms) คือ ข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า หรือเงื่อนไขการส่งมอบสินค้า โดยกำหนดเป็นมาตรฐานความหมายการค้าที่ใช้ตกลงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เป็นสากล ได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยสภาหอการค้านานาชาติ (ICC: International Chamber of Commerce) ซึ่งยึดติดกับการค้าสหประชาชาติหลัก เพื่อให้คู่ค้าทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่าง ๆ โดยช่วยให้ทั้งสองฝ่ายที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีความเข้าใจตรงกัน โดยปัจจุบันได้มีการจัดทำ Incoterms2020 ออกมาเป็นฉบับล่าสุด

 


Incoterms 2020 มีทั้งหมด 11 รูปแบบดังนี้

         1. EXW (Ex works) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายผู้ขายวางสินค้าให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ สถานที่ที่ระบุ โดยไม่ต้องขนสินค้าขึ้นบนพาหนะที่มารับ ผู้ซื้อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับสินค้านับแต่เวลาที่สินค้าได้ถูกส่งมอบแล้ว ผู้ซื้อรับความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายเมื่อได้รับมอบสินค้า

*ผู้ซิ้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า (ผู้ขายให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการส่งออก)

         2. FCA (Free Carrier) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับขน โดยที่ผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่ง ที่ผู้ขายจะต้องทำพิธีการส่งออก รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ความเสี่ยงระหว่างการขนส่งตั้งแต่สถานที่ของผู้ขายไปยังสถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าเป็นของผู้ขาย ส่วนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขนส่งสินค้าและความเสี่ยงต่าง ๆ จากสถานที่ของผู้รับขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางจะเป็นของผู้ซื้อ

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนน/ขาเข้า (ผู้ขายให้ความช่วยเหลือด้านเอกสารและข้อมูลเพื่อการผ่านแดน/นำเข้า

         3. FAS (Free Alongside Ship) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้นำสินค้าไปยังกราบเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าขึ้นเรือ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ความเสี่ยงในการขนสินค้าขึ้นเรือและระหว่างการขนส่งจะเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบไปยังกราบเรือ และผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

         4. FOB (Free on Board) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกราบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงในการขนส่งสินค้า เป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าผ่านกราบระวางเรือไปแล้ว

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

         5. CPT (Carriage Paid To) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับขนส่ง ที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าที่ท่าเรือต้นทาง ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออกและค่าระวางสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีเมื่อสินค้าถูกส่งมอบให้กับผู้รับสินค้าที่ท่าเรือต้นทาง

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

         6. CIP (Carriage and insurance Paid To) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าให้ผู้รับขนส่งที่ระบุโดยผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้รับขนส่งสินค้าที่ต้นทาง ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า และค่าประกันภัยขนส่งสินค้าเพื่อคุ้มครองในการขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อ

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดนขาเข้า

         7. CFR (Cost and Freight) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกราบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก และจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งความเสี่ยงภายในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อในทันที ที่สินค้าผ่านกราบระวางเรือไปแล้ว

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

         8. CIF (Cost Insurance and Freight) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกราบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออก จ่ายค่าระวางเรือและค่าประกันภัยในการขนส่งสินค้า เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อให้แก่ผู้ซื้อด้วย

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการผ่านแดน/ขาเข้า

         9. DAP (Delivered at Place) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าบนพาหนะขนส่งที่พร้อมจะขนถ่ายสินค้าลง ณ สถานที่ปลายทางระบุ ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุภายใต้สัญญารับขน ผู้ซื้อรับความเสี่ยงทั้งหมดของสินค้าเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า

         10. DPU (Delivered at Place Unload) มาจาก DAP (Delivered at Place) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าผู้ขายขนถ่ายสินค้าลงบนพาหนะขนส่งที่มาถึง และส่งมอบสินค้าโดยวางไว้ให้ผู้ซื้อมารับไปเอง ณ ที่สถานที่ปลายทางที่ระบุ ผู้ขายรับผิดชอบความเสี่ยงทั้งหมดในการนำสินค้าไปยังและขนถ่ายลง ณ สถานที่ที่ปลายทางระบุ ผู้ขายชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุ

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออกและผ่านแดน ผู้ซื้อเป็นผู้ผ่านพิธีการขาเข้า

         11. DDP (Delivered DutyPaid) เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าถึงสถานที่ปลายทางที่ผู้ซื้อได้ระบุไว้ ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบภาระทั้งหมดตั้งแต่การทำพิธีการส่งออก ค่าระวางเรือ ค่าประกันความเสี่ยงต่าง ๆ ค่าภาษีนำเข้า เงื่อนไขนี้ผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ

*ผู้ขายเป็นผู้ผ่านพิธีการขาออก/ผ่านแดน/ขาเข้า

SOUCRE : kn-portal.com

 

Incoterms 2020 มีการเปลี่ยนแปลงจาก Incoterms 2010 ที่สำคัญคือ

          1. DAT (Delivered at Terminal) ของ Incoterms 2010 สลับหน้าที่มาเป็นเทอม DAP ของ Incoterms 2020 และเทอม DAT ของ Incoterms 2010 เปลี่ยนและเรียกชื่อเป็น DPU ของ Incoterms 2020 เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ขายและผู้ซื้อประสงค์ให้มีการส่งมอบและรับมอบสินค้ากัน ณ สถานที่อื่นมากกว่าระบุเพียงที่สถานีปลายทาง เพื่อให้ยืดหยุ่นขึ้น

          2.ในการทำสัญญาซื้อขาย เทอม FCA ที่ผู้ขายต้องบรรทุกสินค้าขึ้นหรือลงในยานพาหนะที่ผู้ซื้อจัดหา ในกรณีที่ไม่ใช่บรรทุกลงเรือใหญ่โดยตรง ต้องบรรทุกขึ้นรถหรือลงเรือขนถ่ายสินค้าไปถ่ายลงเรือใหญ่อีกทอดหนึ่ง ในกรณีเป็นการชำระเงินโดย L/C ซึ่งธนาคารกำหนดให้ต้องนำ B/L ไปแสดงจึงจะจ่ายเงินตาม L/C ให้ผู้ขาย มีปัญหาเกิดขึ้นคือสายการเดินเรือ จะยังไม่ออก B/L ให้จนกว่าสินค้าที่บรรทุกในรถหรือเรือขนถ่ายสินค้า จะบรรทุกลงเรือใหญ่

          เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น Incoterms 2020 ในเทอม FCA ได้เปิดช่องให้ คู่สัญญาสามารถทำความตกลงกันในสัญญาซื้อขาย กำหนดให้ผู้ซื้อที่เป็นผู้จัดหาเรือ ต้องมีข้อกำหนดให้สายการเดินเรือออกB/Lและเอกสารที่เกี่ยวกับการบรรทุกให้ผู้ขายในกรณีดังกล่าวข้างต้น

          3.การครอบคลุมของการประกันภัยในระดับที่สูงขึ้นในการซื้อขายเทอม CIF และเทอม CIP เป็นหน้าที่ของผู้ขายต้องรับผิดชอบในการประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่งไปส่งมอบให้ผู้ซื้อ ตาม Incoterms 2010 สัญญาประกันภัยอาจครอบคลุมช่วงใดช่วงหนึ่งของการขนส่ง แต่ตาม Incoterms 2020 ผู้ขาย ต้องซื้อประกันภัยที่ครอบคลุม สูงขึ้นจากเดิม