พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ประกาศราชกิจจานุเบกษา 5 เมษายน 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันประกาศฯ (มีผล 5 พฤษภาคม 2562) มีประเด็นหลักๆ ดังนี้

1. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 9 วรรคหนึ่ง นายจ้างไม่คืนเงินประกัน ไม่จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี
2. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 13 การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน และรับรองให้สิทธิ-หน้าของลูกจ้างนับต่อเนื่องจากนายจ้างเดิม
3. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 เพิ่มมาตรา 17/1 สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน
4. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 34 ให้สิทธิลูกจ้างลาเพื่อกิจธุระได้ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี
5. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 41 ให้ความคุ้มครองลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ ลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ต่อครรภ์ และวันลารวมถึงการลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดด้วย
6. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562  แก้ไขมาตรา 53 ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้างต่างๆให้แก่ลูกจ้างชาย-หญิง ในลักษณะ คุณภาพ ปริมาณเดียวกัน เท่าเทียมกัน
7. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 เพิ่มมาตรา 57/1 ให้นายจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างสำหรับการลาเพื่อกิจธุระจำเป็น ไม่เกินปีละ 3 วัน (แก้ให้สอดคล้องกับมาตรา 34)
8. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้มาตรา 59 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างที่เป็นหญิงสำหรับการลาคลอดบุตร (ให้สอดคล้องกับมาตรา 41)
9. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 70 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้าง ให้ชัดเจนขึ้น
10. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 75 วรรคหนึ่ง กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินให้ลูกจ้างกรณีนายจ้างหยุดประกอบกิจการชั่วคราวให้ชัดเจนขึ้น
11. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 93 (5) เพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสงัสดิการแรงงานให้มีอำนาจในการออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 120/1
12. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 118 (5) และเพิ่มมาตรา118 (6) กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงาน 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน แต่ถ้าทำงานเกินกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้ค่าชดเชย 400 วัน
13. พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แก้ไขมาตรา 120 กำหนดหลักเกณฑ์แก่นายจ้างเกี่ยวกับการย้ายสถานประกอบการ

รายละเอียด พรบ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ คลิก