TerraBKK Research สังเกตเห็น ผลประกอบการ ปี 2560 กลุ่มโรงพยาบาล มีความน่าสนใจไม่น้อย ด้วยตัวเลขรายได้โตต่อเนื่อง จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การเติบโตด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย ส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านและจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนการเติบโตจากภูมิภาคอื่นๆ เช่น กลุ่มรัฐอ่าวอาหรับและประเทศตะวันออกกลางยังคงทรงตัว ขณะที่ตลาดในประเทศยังโตต่อเนื่อง อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อร้ายแรงของคนไทยมีมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น ทั้งหมดนี้ย่อมทำให้ความต้องการใช้บริการทางการแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อมี โรคระบาดหรือโรคติดต่ออื่นๆ จึงไม่แปลก หากโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่งมีแผนลงทุนเพิ่ม ผลประกอบการ ธุรกิจขยายสาขาเพื่อรอบรับผู้ใช้บริการ

           

หากเปรียบเทียบ ผลประกอบการ เฉพาะการเปรียบแปลงของรายได้รวม แบบปีต่อปี TerraBKK Research พบว่า เกือบจะทุกโรงพยาบาลเลยทีเดียว ที่มีการเพิ่มขึ้นของรายได้มาตลอด ตั้งแต่ปี 2558-2560 โดย 5 โรงพยาบาลแรก ที่มีการเติบโดของรายได้รวมเฉลี่ยสูงสุด คือ ศิครินทร์(SKR), ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์( KDH), ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์(VIH), โรงพยาบาลราชธานี(RJH) และ บางกอก เชน ฮอสปิทอล(BCH) (บทความนี้ ไม่รวมหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ปี 2560 เนื่องจากข้อมูลไม่เพียงพอ คือ โรงพยาบาลราชพฤกษ์(RPH) , โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง (WPH) และ ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป (THG) )


           TerraBKK Research แบ่ง ผลประกอบการ กลุ่มโรงพยาบาล ตามระดับรายได้ เป็น 3 ระดับดังนี้

           1. ระดับหมื่นล้านบาท มี 3 โรงพยาบาล ได้แก่ กรุงเทพดุสิตเวชการ(BDMS), โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์(BH) และ สมิติเวช(SVH) โดย ผลประกอบการ กรุงเทพดุสิตเวชการ(BDMS) สามารถทำรายได้สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ แต่อัตราส่วนทางการเงินสูงสุดเป็นของ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์(BH) แม้พลาดท่า ROE ปี 2560 ลดลงจากปีก่อน ขณะที่ ROA และ NPM โตขึ้นเล็กน้อย


          2. ระดับพันล้านบาท เป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดของอุตสาหกรรมนี้ ล้วนเป็นโรงพยาบาลที่คุ้นชื่อกันอย่างดี เช่น โรงพยาบาลจุฬารัตน์(CHG), โรงพยาบาลรามคำแหง(RAM), โรงพยาบาลวิภาวดี(VIBHA) เป็นต้น โดย ผลประกอบการ บางกอก เชน ฮอสปิทอล(BCH) ทำรายได้สูงสุดในกลุ่มรายได้พันล้านบาท ส่วน โรงพยาบาลนนทเวช(NTV) ดำเนินงานด้วยอัตราส่วนการเงิน ROE และ ROA สูงสุดในกลุ่ม ขณะที่อัตรากำไรสุทธิ (NPM) สูงสุด ตกเป็นของ โรงพยาบาลรามคำแหง(RAM)

          3. ระดับร้อยล้านบาท เช่น วัฒนาการแพทย์(NEW), ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์( KDH), เอกชัยการแพทย์(EKH) เป็นต้น แม้ ผลประกอบการ ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์( KDH) จะทำรายได้สูงสุดในกลุ่มนี้ แต่ยังขาดทุนอยู่แม้จะมีแนวโน้มขาดทุนลดลงก็ตาม เนื่องจากเปิดให้บริการศูนย์แพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีต้นทุนรอบรับเพิ่มขึ้น เช่น บุคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น ส่วนอัตราส่วนทางการเงิน เอกชัยการแพทย์(EKH) ทำได้ดีที่สุดในกลุ่มนี้

          ล่าสุด TerraBKK Research สรุป ผลประกอบการ ไตรมาสที่ 1 ของกลุ่มโรงพยาบาล ปี 2561 ประกอบด้วย รายได้รวม และ กำไรสุทธิ รายละเอียดดังนี้

          TerraBKK Research พบว่า รายได้รวม เพิ่มขึ้นทุกแห่ง เฉลี่ย 12.5-20% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ กำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยรวมเกิดจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยจากโรคระบาดตามฤดูกาล การบริหารจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งรายได้เพิ่มจากสาขาที่ขยายเปิดใหม่ เป็นต้น ---TerraBKK

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก