ในยุคที่ “สตาร์ทอัพ” มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการพลิกโฉมอุตสาหกรรมโลก ไม่เพียงเป็นรูปแบบธุรกิจทรงประสิทธิภาพที่มาเพิ่มศักยภาพ สร้างความสะดวกสบาย และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้บริโภคเท่าน้ัน เมื่อมองกลับมาในมุมของผู้ริเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ ยังสร้างรายได้มหาศาลในเวลาอันรวดเร็วราวติดจรวด อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว กับ Facebook, Uber, Dropbox, Airbnb ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็กลายเป็นเทคโนโลยีที่ผู้บริโภคขาดไม่ได้ และสร้างมูลค่าบริษัทได้เกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
น่าแปลกใจแม้เมืองไทยจะเป็นมือใหม่หัดเดินบน ถนนสตาร์ทอัพ แต่ก็มีสตาร์ทอัพหลายรายฉายแววรุ่งแล้ว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นนักสู้-นักสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการและนักลงทุนไทย ซึ่งหากมองในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยแบรนด์อันดับต้นๆ ที่ขยับตัวเรื่องน้ีก่อนใคร ต้องเอ่ยถึง บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN ผู้นำ ตลาดคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้า ท่ีได้ชื่อว่ามีวิสัยทัศน์ กล้าจะ ‘เปลี่ยน’ และพร้อมท่ีจะ ‘แตกต่าง’ จนสร้างช่ือ ให้กับคอนโดมิเนียมอย่าง ASHTON, IDEO Q, IDEO MOBI, IDEO, ELIO และ UNIO มาแล้ว

สู่ศตวรรษที่ 21 ภายใต้การขับเคลื่อนของบิ๊กบอส หัวก้าวหน้า “โก้” ชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้า หน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กำลังจะปฏิวัติวงการ อสังหาฯ กับการประกาศตัวเป็น “Tech Company” รายแรกของวงการ เปิดตัว Ananda UrbanTech ที่ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนาและยกระดับ มาตรฐานในการขับเคลื่อนองค์กรและโครงการต่างๆ ให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ เพื่อมาตอบโจทย์ ความเปลี่ยนแปลงของตลาดและผู้บริโภค อีกท้ังยังนำแพลตฟอร์มการทำงานสไตล์สตาร์ทอัพมาใช้ในบริษัทดยปรบั โฉมออฟฟิศใหม่มาในรปู แบบ Ananda Campus สำนักงานท่ีชาญฉลาดท่ีสุดในเอเชีย มาช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เพื่อหวังสร้าง การเติบโตให้แก่อนันดาถึง 300% ในอีก3 ปีข้างหน้า

Ananda UrbanTech การผสมผสานเทคโนโลยี ยกระดับชีวิตเมืองยุคใหม่ให้ดีย่ิงกว่า 

คําาถามคือ Ananda UrbanTech คืออะไร? และมัน ทํางานอย่างไร? “เราไม่ใช้แค่ Property Tech ในการขับเคลื่อน สิ่ง ที่เรากําลังทําาคือการเชื่อมโยงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนเมือง มาช่วยแก้ปัญหาการใช้ชีวิตของคนเมืองให้ ดียิ่งข้ึน ไม่ว่าจะเป็นการผสม Fin Tech, Health Tech, Construction Tech, Prop Tech หรือ Robotics Ai” บอส “โก้” ชานนท์ เกร่ิน 

“Ananda UrbanTech” จึงเป็นการนําาเทคโนโลยี ล้าสมัยเข้ามาผสมผสานกับการพัฒนาโครงการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการเร่งสร้างโซลูชั่นใหม่ๆ ที่ สามารถเพิ่มมูลค่ามากยิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าให้ทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุค ดิจิทัล
ยกตัวอย่างรูปธรรม เช่น การที่อนันดาฯ ให้การ สนับสนุนและริเริ่มนวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่ๆ ประเดิม ก้าวแรกด้วยการจับมือกับ Haupcar Co, Ltd.ผู้ให้บริการฮอปคาร์ (Haupcar) เเพื่อมาเพิ่มความสะดวกสบายให้กับ ลูกบ้าน ในการเดินทางด้วยระบบ car-sharing ให้บริการ รถเช่าในรูปแบบการบริการตนเอง โดยเป็นท่ีรู้จักกันว่าเป็นการใช้รถร่วมกันผ่านทางสมาร์ทโฟน ที่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถขับรถหรือแบ่งปันรถยนต์ใช้ระหว่างกันได้ตลอดเวลา โดยเริ่มใช้แล้วในโครงการ ไอดีโอ คิว จุฬา- สามย่าน และ ไอดีโอ โมบิ สุขุมวิท อีสท์เกสต์ 
“เรามองว่าเซอร์วิสที่สตาร์ทอัพพันธมิตรสร้างจะ ตอบโจทย์เรื่อง Urban Living Solutions คือมอบบริการ ท่ีดีและสอดคล้องกับดีเอ็นเอของอนันดา เพราะไม่ว่าเรา จะลงทุนหรือทําาอะไร ทุกอย่างต้องนําามาใช้เพื่อให้คุณภาพ ชีวิตคนเมืองดีข้ึน การทําางานเป็นทีมร่วมกับสตาร์ทอัพ เหล่านี้ เราสามารถหาลูกค้า Early Developer เพื่อให้ พวกเขาได้ feedback เร็วจนนําามาพัฒนาผลงานนั้นๆ และถ้าเซอร์วิสน้ันเวิร์คจริง เราจะผลักดันเขาให้เติบโตต่อ ไป ในขณะที่เราได้เซอร์วิสน้ันมาใช้ก่อน” ชานนท์กล่าว 

Urban Living Solutions ผ่านกลยุทธ์ UrbanTech

ไม่เพียงการเลือกเฟ้นผู้เชี่ยวชาญมาเป็นส่วนผสม สําคัญแล้ว อนันดาฯยังมีการปรับกลยุทธ์คร้ังใหญ่ เพื่อสร้าง Ananda UrbanTech ให้เกิดข้ึนจริง โดยแบ่งออก เป็น 2 ส่วน ได้แก่ การบริหารจัดการนวัตกรรมภายในองค์กร และกลยุทธ์การบริหารจัดการนวัตกรรมจากภายนอก ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1.การสนับสนุนระบบ Ecosystem หรือ ระบบ นิเวศน์ของนวัตกรรม กลยุทธ์เพื่อสนับสนุนผู้ริเริ่มนวัตกรรมอื่นๆ ในระบบนิเวศน์มากกว่าการสร้างส่ิงอําานวยความสะดวกหรือกิจกรรมการแข่งขันให้ผู้ริเร่ิมนวัตกรรมอื่นๆ โดยอนันดาฯ จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่น (สตาร์ทอัพ) มากกว่าการลงมือทําเอง ในรูปแบบ การผลักดันบ่มเพาะทางธุรกิจ และการเฟ้นหาธุรกิจ ใหม่ๆ มากกว่าการทําาโดยลําาพัง ส่ิงนี้จะเป็นกลยุทธ์ช่วย เพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและก้าวสู่การเป็น UrbanTech Company ตลอดจนสร้างสรรค์บริการต่างๆ ให้สามารถ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง 
ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรระดับแถวหน้า อย่าง Hubba Thailand ในการสร้าง Ecosystem ที่ดี ที่สุดให้แก่สตาร์ทอัพไทย และให้การสนับสนุน Startup, Incubator โครงการช่วยบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ตั้งแต่เริ่ม ต้นมีไอเดียจนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาด และ Accelerators โครงการท่ีช่วยผลักดันสตาร์ทอัพ มีผลิตภัณฑ์สามารถเติบโตขยายธุรกิจออกไปได้อย่าง รวดเร็วมากขึ้นแทนที่จะมาแข่งขันกันเอง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนไอเดีย แรงบันดาลใจ และคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ท่ีอนันดาฯ ให้การสนับสนุน 
2. การจัดตั้งเงินกองทุน (Fund of Funds) ซึ่ง เป็นการลงทุนในกองทุนต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในด้าน นวัตกรรมใหม่ๆ และเพื่อร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการที่มี ความเช่ียวชาญ 
3. การบริหารกิจการร่วมทุน (Corporate Venture Capital) ในบริษัทที่มีศักยภาพและมีเทคโนโลยีที่สามารถ นํามาเสริมธุรกิจขององค์กรในอนาคตได้ “ส่วนตัวผมมอง ว่าคอนโดคือ เซอร์วิสิ สมมติในอนาคตไม่มีการผลิตคอนโดฯ แล้วเราอาจไปผสมกับ Airbnb กลายเป็นธุรกิจใหม่ได้ ไหม? ก็เป็นได้ ไม่จําเป็นต้องมองว่าอนันดาฯ จะเป็น ไอดีโอหรืออสังหาฯ เสมอไป แต่มองเป็นแบรนด์ที่ช่วยแก้ ปัญหาการใช้ชีวิตของคนเมือง เพียงแต่เราใช้ทรัพยากรณ์ เดิมเป็นตัวสปริงบอร์ดในการเริ่มประสบการณ์ใหม่ เพื่อส่งให้ตัวเองไปเร็วขึ้น มายด์เซ็ตของเราเป็นเหมือน นักวิทยาศาสตร์ มองหาสูตรท่ีเวิร์ค” บอสชานนท์ฉายให้วิสัยทัศน์การทําางานที่ไม่ยึดโยงกับกรอบเดิมๆ

 

Ananda Campus : The Smartest office in Asia

ส่วนอีกหน่ึงกลยุทธ์ที่ชานนท์มองว่าจะช่วยสร้าง ความแกร่งให้กับพนักงาน สู่การเติบโตถึง 300% ในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างท่ีเขาต้ังใจ นั่นคือการบริหารจัดการ นวัตกรรมภายในองค์กร โดยมุ่งไปท่ีการสร้างวัฒนธรรม องค์กรแบบ Tech Company ใหพนักงานมีความพรอ้ ม ตั้งแต่ความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่าง บริการอาหารกลางวันให้กับพนักงาน ไปจนถึงการสร้าง บรรยากาศการทําางานในบ้านหลังใหม่ท่ีมีความทันสมัย มากท่ีสุดท่ีอาคาร FYI Center ถนนพระราม 4 ถือว่า เป็นก้าวแรกในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ภายใต้ชื่อ Ananda Campus ที่มีการนําาแพลตฟอร์มการจัดสรร พื้นที่ส่วนกลางใช้ร่วมกันแบบสตาร์ทอัพมาใช้ ตลอดจนจุดพักผ่อนส่วนรวมและมุมทําางานส่วนตัว และมุมให้พนักงานเลือกพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย เพื่อลดปัญหาการสื่อสารภายใน รองรับการขยายตัวของธุรกิจ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างความเป็นอันหน่ึงอันเดียวกันของทุกคนในบริษัท ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับออฟฟิศระดับเวิลด์คลาสในต่างประเทศ
“เราเป็นบริษัทที่จะทําานวัตกรรมใหม่ๆ จึงไม่ใช่ว่าผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้คิดค้น การทําางานเหมือนพี่น้อง สําเร็จก็สําเร็จด้วยกัน เปิดอกคุยกันได้ ถ้าองค์กรสามารถถามซีอีโอได้ตรงๆ สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เรากล้าพูด คุยกันเป็นหนึ่งเดียว เพราะผมเช่ือว่าจุดสําาคัญ จุดเกิด และจุดตาย คือสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สามารถประยุกต์ ความคิดใหม่ๆ ได้หรือเปล่า เพราะบ่อยครั้งเรามักยึดติดกับของเก่า” 
แต่ท่ีสร้างความฮือฮาเป็นพิเศษ อยู่ที่การดีไซน์ Smart Office ซึ่งเป็นเครื่องมือสําาคัญที่จะมีบทบาทใน การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ จนเรียกได้ว่าเป็นสําานักงานที่ชาญฉลาดท่ีสุดในเอเชีย โดยอนันดาฯ ร่วมมือกับ พันธมิตรระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อาทิ Samsung, Cisco , Fujisu มาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีโดยไม่ต้องเพิ่มจํานวนพนักงาน โดยเฉพาะการริเริ่มใช้ Workplace by Facebook ซึ่งเป็นบริษัทแรกใน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่นําาระบบน้ีมาเป็นเครื่องมือช่วย ให้พนักงานในองค์กรสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่าง สะดวกและรวดเร็วขึ้น (Collaboration) เพิ่มพื้นที่ในการ แลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
จากส่วนผสมต่างๆ ภายใต้การบูรณาการของชานนท์ ที่ไม่ได้มองตัวเองเป็นเพียงผู้ประกอบการอสังหาฯ เท่าน้ัน หากแต่มุ่งมั่นเป็นผู้นําในการแก้ไขปัญหาการใช้ชีวิตของ คนเมือง หรือ Urban Living Solutions ผ่านกลยุทธ์ UrbanTech ทําาให้คาดการณ์ได้ว่า อนันดาฯ จะสร้าง ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์เมือง ไทย และในอนาคตไม่แน่ว่าเราจะได้เห็นอนันดาฯ ในรูปแบบบิสิเนสโมเดลท่ีคาดไม่ถึงก็ได้ - เทอร์ร่า บีเคเค
 

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก