สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง รายงานเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ 9 ก.ค. 64 ดังนี้
1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.52 ต่อปี
 2. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.1 จากระดับ 44.7 ในเดือนก่อน
4. ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค. 64 ขาดดุล -2,624.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
6. สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อท่ัวไปเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวสูงข้ึนอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ใกล้เคียงกับที่ สศม. คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.2 โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แต่ในอัตราที่ชะลอตัว ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.52

ปัจจัยสาคัญของการสูงขึ้นยังคงเป็นผลจากสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ขยายตัวและการสูงขึ้นของราคา อาหารสดบางประเภท โดยเฉพาะเนื้อสุกร ไข่ไก่ ผลไม้สด และน้ำมันพืช ขณะที่มาตรการลดค่าครองชีพ ของภาครัฐ และการลดลงของราคาอาหารสดบางประเภท เช่น ผักสด ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เป็น ปัจจัยทอนที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ขยายตัวชะลอลง

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 จากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 43.7 ตามราคาเหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ระดับสูง นอกจากนี้ การปรับเพิ่มขึ้นของราคาทองแดงและอลูมิเนียม ส่งผลให้สินค้าในหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีทองแดงและอลูมิเนียม เป็นวัตถุดิบ อย่างไรก็ดี หมวดซีเมนต์ยังคงลดลงต่อเนื่องร้อยละ -1.1 เนื่องจากการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงชะลอ ตัวจากผลของการระบาดโควิดรอบใหม่

เครื่องชี้เศรษฐกจิ ไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.1 จากระดับ 44.7 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 22 ปี 9 เดือน นับตั้งแต่ทาการสารวจในเดือน ต.ค. 41 เป็นต้นมา

เนื่องจากความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยระลอกที่ 3 ประกอบกับ ความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลงและการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ล่าช้า ส่งผลให้ ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนักและยังขาดแรงกระตุ้นในการฟื้นตัว แม้ว่ามาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการอื่น ๆ จะสามารถกระตุ้นกาลังซื้อได้แล้วในระดับหนึ่ง

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ม.ิ ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7
การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่าในปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายใน หมวดสินค้าคงทนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ขยายตัวได้ดีส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรการ กระตุ้นการบริโภคของภาครัฐที่ช่วยพยุงกาลังซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบัน

เครื่องชี้ภาคการเงิน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค. 64 ขาดดุล -2,624.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -1,297.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -6,001.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 3,377.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการนาเข้า ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -7,340.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินเช่ือในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 64 มียอดคงค้าง 19.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอ สินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเล็กน้อยที่ ร้อยละ 0.1 ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ขยายตัวในอัตราคงตัวที่ร้อยละ 5.2 จากช่วง เดียวกันปีก่อน


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 64 มียอดคงค้าง 22.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวท่ีร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคาร พาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 ขณะที่ เงินฝาก สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราชะลอตัวที่ ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน


ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เครื่องชี้เศรษฐกจิต่างประเทศ 
สหรัฐ
: ดัชนีฯ PMI นอกภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 60.1 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือน พ.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 64.0 จุด เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของดัชนี กิจกรรมทางธุรกจิ ยอดคาสั่งซื้อใหม่ คาสั่งส่งออกใหม่ และการจ้างงาน เป็นสาคัญ โดยสหรัฐฯ ยังคงเผชิญปัญหาการขาดแคลนวัสดุการผลิต ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น การขนส่งสินค้าทางทะเลที่ล่าช้า และการขาดแคลนแรงงาน จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (27 มิ.ย.-3 ก.ค. 64) อยู่ที่ 3.73 แสนราย เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.71 แสนราย สูงกว่าคาดการณ์ของตลาด และยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ ที่อยู่ที่ระดับ 2.3 แสนราย ทั้งน้ี ปัญหาการ ขาดแคลนแรงงานยังคงเป็นอุปสรรคที่สาคัญต่อภาคธุรกิจของสหรัฐฯ โดยมีทั้งจากการว่างงานโดยสมัครใจ ผู้ที่ยังไม่ได้งานที่เหมาะสมสาหรับตนเอง หรือผู้ปกครองที่จาเป็นต้องดูแลบุตรเนื่องจากสถานศึกษายังไม่เปิด

จีน : ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 55.1 จุด และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางเรือที่สาคัญ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวลดลง

ญี่ปุ่น : ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 48.0 จุด จาก 46.50 จุดในเดือน พ.ค. 64 อย่างไรก็ดี ค่าดัชนียังคงต่ากว่า 50.0 จุด เนื่องจากยังคงมีการประกาศใช้มาตรการข้อจากัดต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ยูโรโซน : ดัชนีฯ PMI ภาคการบริการ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวลดลงจาก เดือน เม.ย. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 23.3 อย่างไรก็ดี ขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.2

ออสเตรเลีย : ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 56.8 จุด จาก 60.4 จุด ในเดือน พ.ค. 64 ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ที่ส่งผลให้ออสเตรเลียต้องประกาศปิด 4 เมืองใหญ่ อีกครั้ง ได้แก่ บริสเบน ซิดนีย์ เพิร์ธ และดาร์วิน

มาเลเซีย : อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน เม.ย. 64 ที่อยู่ที่ ร้อยละ 4.6 ของกาลังแรงงานรวม
ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบยี้ที่รอ้ยละ1.75ต่อปี

อินเดีย : ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 41.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.4 จุด และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนบั ตั้งแตเ่ ดอื น ส.ค. 63 จากสถานการณ์แพรร่ ะบาดในประเทศที่เริ่มกลับมาน่าเป็น กังวลอีกครั้ง หลังหลายรัฐในอินเดียประกาศผ่อนคลายล็อกดาวน์ในช่วงกลางเดือน มิ.ย. 64

สิงคโปร์ : ดัชนีฯPMIภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.64อยู่ที่ระดับ50.1จุดลดลงจากเดือนกอ่นหนา้ที่อยู่ที่ระดับ 54.4 จุด เนื่องจากอยู่ในชว่ งมาตรการควบคุมโควิด-19 ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.64ขยายตวัที่รอ้ยละ79.7จากช่วงเดยีวกนัปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ ขยายตัวรอ้ ยละ 54 เนื่องจากผลกระทบจากฐานต่าในปีที่แล้วและการฟื้นตวั ของเศรษฐกิจ โดยยอดขายใน หมวดยานยนตเ์ป็นปัจจัยสนับสนุนสาคัญ

ฟิลิปปินส์ : อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจาก ราคาสินค้าในหมวดต้นทุนค่าขนส่งเป็นสาคัญ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 249.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ร้อยละ 154.3 เนื่องจากสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสาคัญ

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 74.1 มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 47.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 152.8 ดุลการค้า เดือน พ.ค. 64 ขาดดุลที่ 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไต้หวัน : อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.15 ของกาลังแรงงานรวม ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ ที่ร้อยละ 3.71 ของกาลังแรงงานรวม และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้รัฐบาลยกระดับมาตรการ​ควบคุมการระบาดอีกครั้ง หลังพบผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงเป็น ประวัติการณ์

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ ร้อยละ 2.48 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาน้ามันเชื้อเพลิง ค่าขนส่ง และค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัว ลดลง โดยรัฐยกเลิกอัตราค่าไฟพิเศษในช่วงฤดูร้อน ตามมาตรการบรรเทาผลกระทบโควิด-19
มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 35.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนาเข้า เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 42.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 64 เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 5.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สหราชอาณาจักร : ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 62.4 จุด จาก 62.9 จุด ในเดือน พ.ค. 64 อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีดังกล่าวยังคงสูงกว่าระดับ 50.0 จุด ซึ่งบ่งชี้ว่า ธุรกิจภาคบริการยังคงมี การขยายตัว โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์

เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอตัราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับ ตลาด หลักทรัพย์อ่ืน ๆ ในภูมิภาคท่ีปรับตัวลดลง เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น ดัชนี SET ปรับตัวเพ่ิมขึ้น ช่วงต้นสัปดาห์ และปรับตัวลดลงต่อเนื่องจนถึงปลายสัปดาห์ เมื่อวันท่ี 8 ก.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,543.67 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่าง วันที่ 5-8 ก.ค. 64 อยู่ที่ 80,287.43 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุน ต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรพั ย์ เป็น ผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่าง วันที่ 5-8 ก.ค. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -1,522.01 ล้านบาท

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -9 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5-8 ก.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 985.97 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึง วันที่8ก.ค.64กระแสเงินทนุของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาด พันธบัตรสุทธิ 71,873.69 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 8 ก.ค. 64 เงินบาท ปิดที่ 32.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.34 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลยูโà ÃÔ§¡Ôμ ÇÍ1 และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ขณะท่ีเงินสกุลàÂน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงิน สกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลง ร้อยละ -1.34 จากสัปดาห์ก่อน





ขอบคุณข้อมูลจาก : Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance 02-273-9020 Ext. 3259