สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ 23 เม.ย. 64 ดังนี้
1. มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวที่ร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
2. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.3 จากระดับ 85.1 ในเดือนก่อน
3. ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
4. จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศ จำนวน 6,737 คน หดตัวที่ร้อยละ -99.2 ต่อปี

มูลค่าการส่งออกในเดือน มี.ค. 64 มีมูลค่า 24,223 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลับมาขยายตัวสูงสุด ในรอบ 28 เดือนนับตั้ง แต่เดือน พ.ย. 61 ทั้งน้ี มูลค่า การส่งออกขยายตัวดีส่วนหนึ่ง จากการส่ง ออกสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ถุงมือยาง และเม็ดพลาสติกที่มี มูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ สำหรับสินค้าส่งออกอื่นๆ ที่ขยายตัวและเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกในเดือนดังกล่าว เช่นเดียวกัน อาทิ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ ขณะท่ี สินค้าทองคำยังหดตัวในเดือนดังกล่าว ด้านตลาดส่งออก พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยส่วนใหญ่มีทิศทางขยายตัว อาทิ ตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน EU15 ทวีปออสเตรเลียอินเดีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขณะที่ การส่งออกไปยังกลุ่ม อาเซียน 9 ยังคงหดตัวแต่เป็นอัตราการหดตัวที่ชะลอตัวลงอยู่ท่ี ร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้าซึ่งหดตัวสูงถึงร้อยละ -11.8 ทั้งน้ี มูลค่าการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 64 ขยายตัว เฉลี่ยที่ร้อ้ยละ 2.3 ต่อ ปี

มูลค่าการนาเข้าในเดือน มี.ค. 64 มีมูลค่า 23,512 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวสูงท่ีร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของกลุ่ม สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าทุน (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 16.8) สินต้าวัตถุดิบ และกึ่งสำเร็จรูป (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 29.6) สินค้าอุปโภคบริโภค (ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 21.9) ขณะที่สินค้านำเข้ากลุ่มเชื้อเพลิง กลับมาหดตัวเฉลี่ย ที่ร้อยละ -9.5 ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วงไตรมาสท่ี 1 ของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ย ที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี สำหรับดุลการค้าในเดือน มี.ค. 64 ยังคงเกินดุลเล็กน้อยที่มูลค่า 710.8 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าสะสมของไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 64 เกินดุล มูลค่า 515.7ลา้นดอลลารส์หรัฐ

ดัชนีความเช่ือมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน  มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.3 จากระดับ 85.1 ในเดือนก่อน โดยดัชนีฯ ดัชนีความเชื่อมั่น ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มข้ึนจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากภาคการผลิตกลับมาขยายตัวตามอุปสงค์ใน ประเทศและต่างประเทศท่ีเพิ่มขึ้นซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจาก การผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 ของภาครัฐ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากน้ี ด้านการส่งออกยังมีคำส่ังซื้อเพิ่มขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโนมฟื้นตัวโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์ และชิ้นส่วนฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และน้ำมันสาเร็จรูป

ปริมาณ การจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ เดือน มี.ค. 64 ขยายตตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และขยายตัวได้ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล โดยปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนท่ี 4 จากสถานการณ์ การระบาดของโควดิ -19 ช่วงต้นปีมีแนวโน้ม ดีขึ้น (ยังไม่รวม ผลของการระบาดระลอกใหม่ท่ีมีแนวโนม้ กระจายตัวและรุนแรงกว่าครั้งก่อนหน้า )และความคืบหนา้ในการฉีดวัคซีน ป้องกันโควิด ในประเทศ ส่ง ผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชน รวมถึงผู้ประกอบการต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวดีขี้น ขณะท่ีการเร่งก่อสร้างของภาครัฐเป็นปัจจัยเสริม ท่ีช่วยให้ความต้องการใช้งานปูนซีเมนตเ์พิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผลของการระบาดของโควิด ระลอกใหม่จะเป็นปัจจัยกดดันต่อภาคการก่อสร้างและภาคอสังหารมิทรัพย์ที่กำลังฟื้นตัว ได้ดีให้ชะลอลงอีกครั้ง ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ เดินทางเข้าประเทศไทย ในเดือน มี.ค. 64 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตประเภท พิเศษ (Special Tourist Visa: STV) รวมถึง นักท่องเที่ยว กลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศ จานวน 6,737 คน เพิ่มข้ึนจากเดือน ก.พ. 64 ท่ีมีนักท่องเที่ยว 5,741 คน ทำให้จำนวนนักท่องเท่ียวเดือน มี.ค. 64 หดตัวท่ีร้อยละ -99.2 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเท่ียวจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และจีน ส่งผลให้ในไตรมาสท่ี 1 ปี 64 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทิ่เดินทางเข้าประเทศไทย อยู่ที่ที่ 20,127 คน หดตัวร้อยละ -99.7 ต่อปี 



Global Economic Indicators 
US ????
ยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค.64 หดตัวที่ร้อยละ -3.7 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หดตัวชะลอลงจากเดือน ก.พ. 64 ท่ีอยู่ท่ีร้อยละ -6.6 จากเดือนก่อน (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ) ทั้งนี้ ยอดขายบ้านมือสอง เดือน มี.ค. 64 หดตัวลงในทุกภูมิภาค และเป็นระดับท่ีต่ำที่สุด นับตั้งแต่ เดือน ส.ค. 63 ซึ่งเป็นผลจากราคาบ้านที่เพิ่มสูง สต็อกบ้านที่ยังอยู่ในระดับ ต่ำและราคาวัสดุสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (11–17 เม.ย.64) ปรับตัวลดลง อยู่ท่ี 5.47 แสนราย ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าท่ีอยู่ที่ 5.86 แสนราย และเป็นจำนวนท่ีต่ำท่ีสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ตลาดแรงงานสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมาเปิดอีกครั้ง และได้ร้บแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์รวมถึงการเร่งกระจายการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้าง

Japan  ????
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 ปรับตัวลดลงร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนาเข้า เดือน มี.ค. 64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งปรับตัว เพิ่มสูงขึ้นสูงสุด ในรอบ 14 เดือน เช่นเดียวกันกับมูลค่าการส่งออกเดือน มี.ค. 64 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันัของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นตัวทางการค้าทั่วโลกเป็นผลให้ดุลการค้า เดือน มี.ค. 64 เกินดุลมาอยู่ท่ี 663.7 พันล้านเยน จาก 7.5 พันล้านเยนในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นการเกินดุลมากท่ีสุดตั้ง ชแต่เดือน ธ.ค. 63 สำหรับ อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 64 หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี จากค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง และการสื่อสาร ค่าน้ำมัน การรักษาพยาบาล การศึกษาและราคาอาหารที่ยังลดลง ทั้งนี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคการผลิตเดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยมา อยู่ที่ 53.3 จุด จากผลผลิต และคำสั่งซื้อใหม่ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของภาคการผลิตี่ทเพิ่มสูงขึ้นขณะที่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการ เดือน เม.ย.64 ทรงต้วอยู่ที่ 48.3 จุด ซึ่งนับเป็น้ดือนที่ 15 muj8elyj':nhv.s,j c]tpvflj'vvd-v'4k8[ibdki]f]'vpjk'i;fgiH;

Eurozone ????
ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 จากการประชุมในเดือนเม.ย.64 ทั้งน้ี ทางธนาคารกลางยุโรป ได้กล่าวเสริมว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยูโรโซนใน ปี 64 มีแนวโน้มฟื้นตัว เพียงแต่ว่าทิศทางเศรษฐกิจ ในระยะสั้น ยังคงมีความไม่แน่นอน ดัชนีความเช่ือมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น ) เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ -8.1 เพิ่มขึ้น จากเดือน มี.ค. 64 ท่ีอยู่ท่ีระดับ -10.8 เนื่องจาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอ่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับการเร่งฉีดวัคซีนของภูมิภาคยุโรโซน

Singapore ????
อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค.64 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันกับปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 0.7 เป็นผลมา จากค่าขนส่งเป็นสาคัญ

UK ????
อัตราว่างงาน เดือน ก.พ. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากร้อยละ 5.0 ในเดือน ม.ค. 64 โดยมีปัจจัยสนับสนุน มาจากโครงการลดอัตราดอกเบี้ยของรัฐบาล ขณะท่ีอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ ร้อยละ 0.7 ต่อปี เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงรถยนต์ ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มข้ึนจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มข้ึน เช่น HSI (ฮ่องกง) TWSE (ไต้หวัน) และ STI (สิงคโปร์) เป็นตัน ดัชนี SET ปรับตัวลดลงในช่ว่งต้นสัปดาห์ และทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นนับจากกลางสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,568.21 จุดด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 19–22 เม.ย. 64 อยู่ที่ 93,330.76 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนท่ัวไป ในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชี หลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติเป็น ผู้ขายสุทธิ ทั้งน้ี ระหว่างวันที่ 19 – 22 เม.ย. 64 ต่างชาติ ขายหลักทรัพย์ผลสุทธิ 479.54 ล้านบาท



อัตราผลตอบแทนพันธบัตรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลง ในช่วง 0 ถึง -10 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูล พันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 และ 4 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 3.47 และ 1.65 เท่าของวงเงินประมูลตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 19 - 22 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 12,800.87 ล้านบาท และ หากนับจากต้นปีจนถึง วันที่ 22 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 18,926.91 ล้านบาท


เงินบาทแข็งค่าขึ้น จากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 22 เม.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 31.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าข้ึน ร้อยละ 0.71 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆ อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.37 จากสัปดาห์ก่อน



ข้อมูลเศรษฐกิจไทย




ข้อมูลเศรษฐกิจคู่ค้าไทย 15 ประเทศ




ขอบคุณข้อมูลจาก : Macro Economic Policy Bureau Fiscal Policy Office / กลยุทธ์สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค กระทรวงการคลัง