“My job is not to be easy on people. My job is to make them better.” คำกล่าวของชายผู้เปลี่ยนโลกอย่าง สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) ความหวังของเขาที่ต้องทำงานเพื่อให้ชีวิตทุกคนดีขึ้น ! ซึ่งก็จริงอย่างที่เขาบอกไว้นั้นแหละ แม้ว่าสตีฟ จอบส์จะจากโลกใบนี้ไปแล้วตั้งแต่ปี 2011 แต่เขาก็ยังทิ้งนวัตกรรมที่ล้ำค่าไว้บนโลกนี้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยว่า ทำไมเราต้องเรียนรู้ชีวิตของอัจริยะเปลี่ยนสตีฟ จอบส์ !

1. มองหาคนที่ให้แรงบันดาลใจแก่ตัวเรา

สตีฟ จอบส์ เป็นทั้งผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวมะกันที่เลื่องชื่อระดับโลก เรามักจะจดจำเขาได้ด้วยเสื้อคอเต่าสีดำและกางเกงยีนส์ตัวโปรดของเขา เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียกในปี 1976 ด้วยวัยเพียง 21 ปี ซึ่งพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์แมคอินทอช Apple I ขึ้นมาในโรงจอดรถของที่บ้าน ด้วยไอเดียทีโดดเด่นของเขา คุณรู้ไหมว่า นอกจากจอบส์จะเป็นผู้ปลุกปั้นแอปเปิ้ลมากับมือแล้ว เขายังเป็นประธานบริหารพิกซาร์แอนิเมชัน สตูดิโอส์ด้วย ซึ่งซื้อต่อมาจากจอร์จ ลูคัส ผู้ให้กำเนิดภาพยนตร์มหากาพย์สตาร์วอร์ และหลังจากดิสนีย์เข้ามาซื้อพิกซาร์ จอบส์ก็ได้เป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ด้วย

สาเหตุที่ผู้เขียนเล่าเกริ่นประวัติความมาคร่าว ๆ เราจะสังเกตพบว่าสตีฟ จอบส์ เลือกที่จะทำงานด้วยประสบการณ์ที่หลากหลาย เลือกอยู่ในสังคมที่สร้างสรรค์งานเป็นหลัก ถอดรหัสได้ชัดเจนเลยว่า ความสำเร็จของจอบส์ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นเรื่องที่เขาตั้งใจไว้แล้ว หากเราต้องการเลียนแบบความสำเร็จของจอบส์ เราจะต้องพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสังคมที่สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน พูดง่าย ๆ ว่า “หากเราอยากเป็นคนแบบไหน จงพาตัวเองไปอยู่ในสังคมนั้น” เช่น อยากเป็นนักเขียนที่เก่งกาจคุณก็ต้องพาตัวเองเข้าไปรู้จักคบค้าสมาคมกับผู้ที่มีความรู้ระดับเซียน มีประสบการณ์ และมีความมุ่งมั่นในสายงานนั้น ๆ เมื่อคุณถูกรายล้อมด้วยคนเก่งมีความสามารถ มีพลังบวก และแรงบันดาลใจในการทำงาน จึงไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะประสบความสำเร็จได้ เอาเป็นว่า “ทำงานกับคนเก่งเราก็จะเก่งตามไปด้วยนั้นเองค่ะ” เนื่องจากเราจะได้พูดคุยเรียนรู้ และมีเป้าหมายความสำเร็จที่ชัดเจนขึ้น

2. มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์

คำที่เคยได้ยินว่า “นกไร้ขน คนไร้เพื่อน บินสู่ที่สูงไม่ได้” ถึงแม้คำกล่าวนี้อาจจะไม่ได้จริงแท้ 100% แต่การมีเพื่อนที่ดีชักจูงในทางถูกต้อง โดยเฉพาะการสร้างสังคมแห่งการทำงานของสตีฟ จอบส์ที่ได้ริเริ่ม Silicon Valley ของผู้ประกอบการขึ้นมาไว้พูดคุย แชร์ความคิด ส่วนหนึ่งเพื่อเรียนรู้กันและกันทำให้ชุมชนของเขาน่าสนใจและผลักดันสู่ความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะเพื่อนสนิทของเขาที่ร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่มาตลอดอย่าง สตีฟ วอซเนียก ซึ่งร่วมพัฒนาและปลุกปั้นฝันให้กลายเป็นความจริง

3. ไม่เคยหยุดอ่านหนังสือ

ถึงจอบส์จะเรียนไม่จบมหาวิทยาลัย แต่ด้วยไอเดียที่รู้ว่าชอบอะไร ประกอบกับองค์ความรู้และความมุ่งมั่นที่เขามีได้ผลักดันจนทำสำเร็จ จนถูกยกยอให้เป็นพ่อมดแห่งวงการไอที เป็นสตีฟ จอบส์ ที่ลุกขึ้นมาพลิกโฉมเทคโนโลยี เขามักจะบอกว่า “Stay Hungry, Stay Foolish” เมื่อเราเป็นผู้หิวโหยความรู้ตลอดเวลา ยิ่งทำให้การพัฒนาตัวเองมีได้อย่างไม่จำกัด เพราะได้เปิดโลกใหม่ ๆ ในหนังสือ และจะบอกว่าไม่เพียงแค่จอบส์ที่ชอบการอ่านเท่านั้น แต่บิล เกตต์ วอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ และมาร์ค ซักเคอร์เบิร์กก็ชื่นชอบการอ่านหนังสือเช่นเดียวกันค่ะ

4. ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา

ถึงจอบส์จะเป็นคนที่เก็บเนื้อเก็บตัวไม่ชอบออกสื่อเท่าไหร่ ชีวิตของเขาเป็นอะไรที่ดีและแย่สุด ๆ ในเวลาเดียวกัน คงจะเปรียบได้ว่าชีวิตของเขาแทบจะโรยด้วยตะปูเรือใบก็ว่าได้ เพราะเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอย่างแรงกว่าจะมาเป็นที่สุด และถูกยอมรับได้ในวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความเชื่อมั่นในตัวเองที่จอบส์มี ที่สำคัญไม่เคยกลัวความเปลี่ยนแปลงถึงจะถูกไล่ออกจากบริษัทฯก็เถอะ ด้วยความที่จอบส์ชื่นชอบความท้าทาย เขาเลือกสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างออกไปท่ามกลางเสียงคัดค้าน และเลือกโฟกัสไม่กี่ผลงานเท่านั้น จนผลงานตระกูลไอเหล่านั้นกลายเป็นสุดยอดนวัตกรรมในวันนี้ และมีฐานแฟนคลับจำนวนมากที่ชื่นชอบผลงานของเขาคนนี้ สตีฟ จอบส์

___

SOURCE : www.dooddot.com
ที่มา :
 entrepreneur.com,marketingoops.com, inc.com, Wikipedia.org, aiglemag.com
เรื่อง : Butter Cutter