เพิ่งก้าวเข้าสู่เดือนใหม่ไม่นาน แต่คุณกลับพบว่าเงินในบัญชีหมดไปแล้ว คุณคงสงสัยสินะ ว่าเงินมันหายไปไหนหมดนะ บางทีมันอาจจะเป็นเพราะตัวของคุณไม่รู้จักวิธีจัดสรรงบประมาณ หรือใช้จ่ายเงินเกินตัวกู้กนี้ยืมสินจากบัตรเครดิต ทำให้เกิดภาระหนี้สินและตามด้วยภาวะเงินเดือนไม่พอใช้ แต่จะแก้ไขที่ต้นเหตุตอนนี้คงสายไป เราจึงขอแนะนำวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อเอาตัวรอดจากการเงินเดือนไม่พอใช้มาฝาก

ประเมินสถานการณ์

         เริ่มต้นด้วยการพิจารณาสถานการณ์ตรงหน้าแบบไม่เข้าข้างตัวเอง ว่าอะไรที่ทำให้เกิดภาวะช็อตเงินไม่พอใช้แบบนี้ ตัวอย่างเช่น กรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่ต้องทำให้คุณเอางบประมาณสำหรับอนาคตมาใช้ก่อน หรือต้องใช้เงินในอนาคตอย่างบัตรเครดิตเพื่อแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม หากงบประมาณที่พังลงไปเป็นความผิดของคุณแต่เพียงผู้เดียว คุณก็ควรยอมรับความผิดพลาดของคุณ และควรบอกให้คู่สมรส เพื่อนสนิท หรือคนอื่นที่คุณใกล้ชิดกับคุณทราบเอาไว้ จะได้ช่วยกันแก้ไขสถานการณ์ให้มันดีขึ้น แต่หากสาเหตุที่ทำให้งบประมาณของเดือนนี้ร่อยหรอลงไปเกิดจากสถานการณ์ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณ คุณก็ควรปล่อยให้ตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ กับภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้น แต่ควรพยายามที่จะไม่ทำให้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้นกลับมาอีกเป็นดีที่สุด

กองทุนฉุกเฉินของคุณ

           การใช้กองทุนฉุกเฉินในกรณีที่คุณขัดสนจากเดือนที่แล้วจริง ๆ ถือเป็นสิ่งที่สามารถทำได้นะคะ ดีกว่าการสร้างหนี้สินจากบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดเพิ่ม ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเบิกเงินกองทุนฉุกเฉินมาใช้จนหมด ควรเหลือเผื่อเอาไว้ในกรณีฉุกเฉินที่แท้จริงด้วย เช่น ป่วย หรือการซ่อมรถ เป็นต้น กุญแจสำคัญในการใช้เงินทุนฉุกเฉิน คือหากคุณใช้เงินทุนฉุกเฉินไปแล้ว ในเดือนถัดไปคุณก็ต้องเริ่มวางแผนในการหาเงินมาคืนเงินทุนฉุกเฉินที่คุณใช้ไป เพื่อหากคุณเกิดฉุกเฉินขึ้นมาอีก คุณจะได้มีกองทุนฉุกเฉินไว้ใช้ได้ต่อไปค่ะ

ใช้จ่ายในเดือนนั้นน้อยลง

          หลดการใช้จ่ายสิ้นเปลืองเท่าที่ทำได้ ไม่ว่าคุณจะเจอสถานการณ์ที่น่าดึงดูดขนาดไหน เช่นเรื่องการกิน ก็ควรเลือกทานอาหารราคาประหยัดมากขึ้น เช่นจากดื่มกาแฟร้านหรู ก็เปลี่ยนมาชงกาแฟฟรีที่อฟฟิศจัดหาไว้ให้แทน เลือกทำอาหารและห่อไปทางที่ทำงานแทนการไปทานอาหารนอกบ้าน เนื่องจากว่าคุณได้ทำลายงบประมาณของเดือนนี้ไปแล้ว เพราะฉะนั้นเดือนนี้คุณต้องมีความเข้มงวดกับตัวเองมากขึ้น บางทีคุณอาจต้องใช้เวลาช่วงเย็นที่บ้านแทนการออกไปพบปะกับเพื่อน ๆ หรือหากอยากมีการสังสรรค์กันจริง ๆ คุณก็ควรชวนเพื่อน ๆ มาที่บ้านของคุณแทน

เริ่มหัดวางแผนเรื่องการเงิน

          เมื่อคุณรู้ว่าคุณได้มีการทำลายงบประมาณไปแล้ว ต่อไปคุณก็ควรจะวางแผนในการใช้จ่ายเงินให้รอบคอบขึ้นมากกว่านี้สำหรับเดือนถัดไป ทั้งนี้การวางแผนทำได้ไม่ยาก เพียงแค่แบ่งเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินเก็บออม อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับค่าใช้จ่ายประจำ รวมไปถึงเงินสำหรับไว้ใช้จ่ายประจำวัน และส่วนสุดท้ายจึงนำไปใช้จ่ายสันทนาการต่าง ๆ

          การที่จะมีสุขภาพการเงินที่ดีนั้น มัเงินเหลือเก็บ มีเงินพอใช้ไปจนถึงสิ้นเดือน ก็ต้องเริ่มเรียนรู้การวางแผนการเงินที่ดี ซึ่งช่วยให้คุณไม่ต้องชักหน้าไม่ถึงหลังจนต้องใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดมาหมุนเงิน ทำให้มีภาระเป็นดินพองหางหมูต่อไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ หวังว่าบทความนี้ของ MoneyGuru.co.th จะช่วยให้คุณผู้อ่าน มีสุขภาพทางการเงินที่ดีมากขึ้นนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก  MoneyGuru.co.th