ตอนนี้หลายคนน่าจะพูดถึงการครบรอบ 20 ปี ของการลอยตัวค่าเงินบาทในวิกฤติต้มยำกุ้ง ลงทุนแมนจึงจะอยากจะขอพูดถึงเรื่องนี้ในอีกมุมมองแบบเนิร์ดๆ ทางเศรษฐศาสตร์ เผื่อจะได้เข้าใจได้มากขึ้น

สามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ คืออะไร

     ในโลกของ การเงินระหว่างประเทศ มีอยู่ 3 อย่างที่เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ

1) อัตราแลกเปลี่ยนคงที่
2) การเคลื่อนไหวเงินโดยเสรี
3) นโยบายการเงินที่เป็นอิสระ

     แน่นอนว่าพูดมาแบบนี้ งง แน่นอน เลยอยากจะขอเข้าเรื่องยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ภายใน 1 นาที

     

ตอนนี้ประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมด (ยกเว้นสหราชอาณาจักร) จะมีอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ระหว่างกัน และมีการเคลื่อนไหวเงินโดยเสรี ซึ่งเป็น option A

     ไม่ว่าเราจะไปประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมัน หรือ อิตาลี เราจะใช้เงินยูโร เพียงค่าเดียว แต่ประเทศทั้งหมดนี้จะต้องยอมสละสิ่งหนึ่ง นั่นก็คือ นโยบายการเงินที่อิสระ

     จะสังเกตว่าเวลาจะปรับดอกเบี้ยแต่ละที ประเทศในสหภาพยุโรปทั้งหมดจะต้องไปฟังธนาคารกลางยุโรป

     อีกประเทศหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายแบบนี้คือประเทศ ฮ่องกง ประเทศนี้จะมีค่าเงินที่ผูกไว้กับค่าเงินสหรัฐ ถ้าจะให้เงินเคลื่อนที่ได้เสรี ฮ่องกงก็ต้องยอมสูญเสียนโยบายการเงินของตัวเองไป ดังนั้นเราจะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยของฮ่องกงจะตามประเทศสหรัฐอเมริกา

     ประเทศที่เหลือส่วนใหญ่ทั่วโลกนั้นจะเลือก option B นั่นก็คือ การขอมีนโยบายที่เป็นอิสระ แต่ถ้าอยากให้เงินเคลื่อนไหวโดยเสรีด้วย ก็ต้องยอมให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบลอยตัว

     ส่วน option C ในโลกเสรีปัจจุบันจะไม่ค่อยมีประเทศไหนได้ใช้ทางเลือกนี้ ยกเว้นประเทศที่พิเศษประเทศหนึ่งนั่นก็คือ ประเทศจีน

     ประเทศจีน มีนโยบายการเงินเป็นของตัวเอง และกำหนดค่าเงินด้วยตนเอง แต่ก็ต้องมีการควบคุมการไหลของเงินอยู่

แล้ว 20 ปีที่แล้วประเทศไทย ผิดพลาดอะไร?

     20 ปีที่แล้วประเทศไทยกำลังฝืนสามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้นี้อยู่ ประเทศไทยต้องการให้เงินไหลอย่างเสรี มีนโยบายการเงินเป็นของตัวเอง และ กำลังผูกค่าเงินคงที่ไว้กับค่าเงินต่างประเทศ

พอฝืนในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ในที่สุด ประเทศไทยก็ต้องจำใจเปลี่ยนทางเลือกจาก option A ที่ใช้แบบฝืนๆมาเป็น option B ในวันนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว..

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.longtunman.com