เคยสงสัยไหม?เวลาคนทำผิด ก่อการร้าย หรือฆ่าคนตายแล้วหนีไปต่างประเทศ เวลาหนีไปประเทศนั้นๆ แล้วคนร้ายจะบริสุทธิ์เลยหรือ ไม่มีมลทินอะไรเลยหรือเปล่า แล้วถ้าตำรวจเขารู้ว่าคนคนนั้นคือคนร้าย จะจับคนร้ายหรือปล่อยเฉยๆเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น?

ปัจจุบันโลกเชื่อมต่อกันได้เร็วขึ้น แน่นอนว่าการติดตามผู้กระทำผิด มารับโทษไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมีการร่วมมือกันของประเทศทำ “สนธิสัญญาว่าด้วย การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ” หรือ extradition treaty เพื่อขอดำนินคดีอาญาลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งการขอความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญานี้ว่า “การส่งผู้ร้ายข้ามแดน” ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาที่มีการทำสนธิสัญญาร่วมกัน เพราะตามปกติแล้วจะลงโทษคนทำผิดนั้นได้ต้องอยู่ในเขตอำนาจศาลหรือในประเทศของตนนั้นเอง แต่หากคนร้ายมีการหนีออกนอกประเทศ จะต้องร้องขอจากประเทศนั้นๆให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน โดยคำร้องขอนั้นต้องผ่านขั้นตอนทางการทูตก่อน การที่จะเข้าไปจับกุมเพื่อมาดำเนินคดี จะข้ามแดนเข้าไปจับกุมผู้ร้ายในแดนของประเทศอื่นไม่ได้ เป็นการล่วงละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศอื่น จึงต้องมีการขอความร่วมมือระหว่างประเทศนั่นก่อน

เช่นคนไทยทำผิดอาญาแล้วหนีไปอยู่สหรัฐอเมริกา ประเทศไทยก็ขอสหรัฐอเมริกาให้ส่งตัวคนไทยผู้ร้ายข้ามแดนมา เพื่อมาพิจาณาดี หรือเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาของศาลในประเทศไทย

ปัจจุบันมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนทั้งหมด 14 ประเทศ

อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิจิ เบลเยียม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ ลาว บังกลาเทศ และกัมพูชา และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา (treaty on mutual assistance in criminal matters) กับประเทศต่างๆ ได้แก่สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ฝรั่งเศส, นอร์เวย์, จีน, เกาหลีใต้, อินเดีย, โปแลนด์, เปรู, ออสเตรเลีย,ศรีลังกา, เบลเยี่ยม, ยูเครน

สำหรับประเทศไทยกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีมาตั้งแต่พ.ศ 2542 แต่มาปรับปรุงใหม่ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2551โดยกำหนดให้ศาลอาญาเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี ซึ่งมีขั้นตอน สรุปแบบเข้าใจง่ายๆดังนี้

  1. กระทรวงการต่างประเทศทำสัญญาร้องขอไปยังกระทรวงการต่างประเทศนั้นๆ ให้ส่งตัวบุคคลกลับมาดำเนินคดีในประเทศที่ร้องขอ เช่นอัยการรับคำร้องให้ส่งตัวคนร้ายชาวแคนาดากลับประเทศ
  2. แนบเอกสารหลักฐานระบุการกระทำผิดหรือคำพิพากษาความผิดของบุคคลนั้นๆ ส่งไประทรวงการต่างประเทศนั้นๆ ที่ร้องขอ ทำเอกสารการร้องขอขึ้นมา
  3. อัยการสูงสุดพิจารณาคำร้องต่อศาลขอให้ออกหมายจับบุคคลที่ต้องการตัวต่อไป
  4. เมื่อจับตัวตามหมายจับได้แล้ว พนักงานอัยการจำนคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อไต่สวน
  5. ศาลยุติธรรมประเทศนั้นๆ ไต่สวนพิจารณาตัดสินว่าจะมีการส่งตัวหรือไม่

แต่ก็มีข้อจำกัด เช่นคดีการเมือง ศาสนาจะไม่มีการส่งตัวให้ หากผิดก็ถือว่าเป็นความผิดของประเทศนั้นๆ ผู้ต้องหาสามารถต่อสู้ในชั้นศาล เพื่อให้ศาลในประเทศนั้นไม่ส่งตัวได้ เช่นอ้างว่ากระบวนการยุติธรรมประเทศนั้นไม่ได้มาตรฐานความเป็นทำได้รับอันตราย เช่นกรณีนายราเกซ สักเสนา

โดยประเทศที่ร้องขอต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ในการดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าทนายหากผู้ต้องหาคัดค้านการส่งตัวกลับประเทศ รวมถึงค่าแปลเอกสาร ค่าล่าม ค่าเจ้าหน้าที่

จะเห็นได้ว่าถึงแม้จะมีการร้องขอให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่ก็ใช่ว่าจะได้รับความร่วมมือทุกครั้งไป ขึ้นอยู่กับกฎหมาย ข้อกล่าวหา คดีความ และสถานภาพของประเทศด้วย ต้องเข้าใจว่าสนธิสัญญาเป็นการทำกันระหว่างประเทศที่มีอิสรภาพทั้งสองประเทศ ที่เจรจาทำความเข้าใจตามสัญญากันเป็นรายๆไป ซึ่งบางกรณีแล้วแต่ตกลงกัน เช่นประเทศแคนาดา แม็กซิโก ไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับประเทศสหรัฐ หากโทษคดีนั้นคือโทษประหารชีวิต นอกจากอัยการสหรัฐจะรับรองว่าจะไม่เสนอขอให้ศาลลงโทษผู้ต้องหา ประหารชีวิตหากผู้ต้องหาทำผิดคดีนั้นๆ

ในกรณีที่ไม่ได้มีสนธิสัญญาระหว่างกัน ส่วนใหญ่ถ้ารัฐจับกลุ่มผู้ร้ายได้จะจัดส่งตัวผู้ร้าย ถ้อยทีถ้อยอาศัยตอบแทนกัน หากประเทศที่จับผู้ร้ายได้ยอมส่งตัวผู้ร้ายให้แก่ประเทศที่ร้องขอแล้ว ประเทศที่ร้องขอย่อมมีพันธกรณี ต้องส่งตัวผู้รายข้ามแดนให้แก่ประเทศส่งตัวด้วยเช่นกัน ซึ่งจุดนี้เองถือว่าเป็นช่องโหว่ของกฎหมายที่บรรดาคนร้ายที่กระทำผิด มักหนีไปประเทศที่ 3 ที่ไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพราะเขาจะส่งหรือไม่ส่งคนร้ายมาดำเนินคดีก็ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองกันดำเนินคดีก็ยากขึ้น ล่าช้าขึ้นคนร้ายอาจไหวตัวทัน แม้ว่าจะหนี้เงื้อมือกฎหมายได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ อย่างไรก็ไม่สามารถหนีกฎแห่งกรรมได้แน่นอน

บทความโดย : TerraBKKคลังความรู้

TerraBKKค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก