Urban Farm ทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาเมืองและสภาวะโลกร้อน เพิ่มการผลิตอาหาร ลดปริมาณขยะของ Shipping Container
ปัญหาเรื่อง Urban Farm เริ่มเข้ามามีบทบาทกับการแก้ปัญหาเมืองและสภาวะโลกร้อนมากขึ้น และถ้าเราสามารถผลิตอาหารได้มากขึ้น และขณะเดียวกันก็ช่วยลดปริมาณขยะของ Shipping Container ลงด้วย ประกอบกับปัญหาของพื้นที่ใช้สอยจำนวนมาก การทำฟาร์มและสวนคงจะไม่สามารถอยู่ตามแนวราบตามธรรมชาติเดิมๆ ได้อีกแล้ว แต่ควรจะดันขึ้นทางสูงกันบ้าง
และแนวคิดในการแก้ปัญหาดังกล่าว ก็คือ การทำฟาร์มจาก Vertical Shipping Container ความที่คอนเทนเนอร์ หรือ Shipping Container ที่เกิดมาจากวงการอุตสาหกรรมการขนส่ง ที่ต้องการมาตรฐาน และความเป็น Modular รวมทั้งความสามารถในการเกาะเกี่ยวซึ่งกันและกัน และความคงทน ด้วยเหตุนี้เจ้า Shipping Container ทำให้เราได้พัฒนาลักษณะของมันมาเป็น Portable Storage, Portable Home, Portable Office และอื่นๆ อีกมากมาย และหนึ่งในความพยายามที่จะพัฒนาแนวคิดเรื่อง Urban Farm ที่เสนอโดย Hong Kong design studio OVA ที่เคยนำเสนอแนวคิดเรื่อง “Shipping Container Hotel Concept” โดยแนวคิดดังกล่าวอาศัยความเป็น Modular ของ Shipping Container ที่พัฒนาให้เป็นระบบนิเวศน์ โดยส่วนของ URBAN FARM ก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน แต่ยังคงทำงานร่วมกันเป็นระบบ โครงการ Hive-Inn City Farm เป็นเช่นเดียวกับอาคารพักอาศัยและอาคารสูงส่วน Facility ต่างๆ ก็จะเกาะติดกับแนวแกนหลักของอาคารในลักษณะ Plug in กับตัวแกนที่เป็นทั้งส่วนโครงสร้างและส่วนสนับสนุนงานระบบ และส่วน Modular ต่างๆ นั้น สามารถเคลื่อนย้ายได้ หรือแม้กระทั่งมีเจ้าของ เฉพาะแปลงหรือหนึ่ง Container อาจเป็นสวนพันธุ์ไม้ดอก หรือแยกเป็นการเกษตรหรือพืชผักปลอดสารพิษที่ส่งเฉพาะร้านหรือภัตตาคารเฉพาะที่เป็นเจ้าของ Container Modular นั้นๆ หรือแม้กระทั่งการทำการเกษตรในลักษณะของฟาร์มขนาดใหญ่ ทั้งนี้เป็นเพราะความเป็น Modular นั้นเอง และที่น่าสนใจกว่าอาคารอื่นๆ ก็คือ สามารถจัดเป็นอาคาร Mixed-Uses โดยเพิ่มเติมส่วนพักอาศัย หรือส่วน Office เข้าไปแทรกระหว่าง Modular ได้และแนวคิดสำคัญของ Urban Farm ก็คือ การทำให้ระบบการเกษตรที่แต่เดิมต้องอยู่ในส่วนระบบภายนอกของเมืองที่ไกลด้วยระยะทางเข้ามาอยู่กลางใจเมืองในย่าน Urban ซะเลย และผู้ออกแบบโครงการ OVA ได้เสนอว่า ในระบบนิเวศน์ซึ่งจะประกอบด้วย ระบบฝนภายในเพื่อให้ใกล้เคียงธรรมชาติ อีกทั้งระบบ Recycle Water ที่ทั้ง Recycle ของเสียจากทั้งผู้อยู่อาศัย, สัตว์เลี้ยง, ปศุสัตว์ และจากเกษตรกรรม ครบเครื่อง โดยการนำของเสียดังกล่าวมาผลิตก๊าซชีวภาพและติดตั้ง Solar Cell พร้อม Low Wind Turbine เพื่อผลิตพลังงาน แนวคิดดังกล่าว กำลังจะเริ่มสร้างในรัฐนิวยอร์กและหวังว่าจะเป็นตัวแบบของ Urban Farm อื่นๆ ต่อไป
ที่มา : Builder Magazine http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=146&cno=8910