ลงทุนอสังหา มักมีปัญหามากมายที่คนไม่ลงมือทำจริงมักไม่เข้าใจ แม้จะพยายามศึกษาข้อมูลมาอย่างดี ซึ่งก็ช่วยผ่อนความเสี่ยงเบาบางลงได้บ้าง แต่เตรียมตัวให้พร้อมรับมือ แม้จะยังไม่เกิดปัญหาขึ้น ก็คงไม่มีอะไรเสียหาย TerraBKK มีข้อมูลน่าสนใจ 3 ขั้นตอน ปิดข้อพลาด ลงทุนอสังหา เป็นความรู้กล่าวย้ำแก่ผู้ที่สนใจลงทุนอสังหาว่า ขณะที่คุณก่อนจะตัดสินใจลงทุนทรัพย์ใดนั้น คุณกำลังทำข้อผิดพลาดด้านใดแบบไม่รู้ตัวอยู่หรือไม่ ? รายละเอียดดังนี้

วิธีที่ 1 : ข้อมูลแน่น ไม่มีเจ๊ง

1) ลงพื้นที่ : ก่อนที่คุณจะลงทุนอสังหาใดๆ คุณควรวิจัยศึกษาข้อมูลทั้งด้านทรัพย์สินและสภาพแวดล้อมอย่างเต็มกำลังที่สุด ยกตัวอย่างคำถามสำรวจข้อมูล เช่น
  • บริเวณรอบทรัพย์นั้นเป็นอย่างไร ?
  • อนาคตของพื้นที่ใกล้เคียงจะเป็นอย่างไ ?
  • เป็นทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมหรือไฟไหม้หรือไม่ ?
  • ทำไมทรัพย์นี้ถึงถูกประกาศขาย ?
2) สอบถามข้อมูล : หากคุณรู้สึกว่า ลงทุนอสังหา ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณ คุณอาจเกิดประมาทในการลงทุนครั้งนั้นได้ง่าย ดังนั้น ควรตรวจสอบความชัดเจนของข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้คนที่น่าจะมีความรู้จริงมากกว่าตัวคุณ เช่น
  • พูดคุยกับตัวแทนอสังหาริมทรัพย์เพื่อตรวจสอบราคาทรัพย์สินโดยรอบ
  • พูดคุยคนท้องถิ่นถึงข้อมูลทรัพย์สินนั้น หรือสภาพแวดล้อมโดยรอบ
  • พูดคุยกับช่างซ่อมบ้านเพื่อประเมินค่าซ่อมแซมบ้าน
3) ประเมินราคาบ้าน : ข้อผิดพลาดของ ลงทุนอสังหา ที่มักเกิดขึ้นในตลาดบ่อยครั้ง คือการซื้อทรัพย์ในราคาที่สูงเกินไป ดังนั้น ควรพิจารณาความเหมาะสมของราคากับสภาพทรัพย์นั้น เพื่อคุณจะได้ตัดสินใจ ว่ามันคุ้มค่ากับราคาและค่าใช้จ่ายในอนาคตหรือไม่?
  • เปรียบเทียบราคาทรัพย์ที่มีสภาพคล้ายกันในพื้นที่โดยรอบ
  • เปรียบเทียบราคาทรัพย์กับราคาซ่อมแซม

วิธีที่ 2 : รู้เท่าทันการเงิน ไม่มีเจ๊ง

1) รู้งบประมาณตัวเอง : การลงทุนอสังหาที่ก้าวกระโดดเกินตัว เกินระดับเงินทุนที่คุณมี ยิ่งไม่มีประสบการณ์ด้วยแล้ว ย่อมเกิดข้อพลาดได้ง่าย ดังนั้น ควรเริ่มต้นการลงทุนด้วยงบประมาณที่คุณเอื้อมถึงจะดีกว่า จะได้ไม่เป็นการกดดดันตัวคุณเองมากเกินไป
  • ตั้งงบประมาณเงินทุน แล้วจึงค้นหาพื้นที่ตั้งทรัพย์ที่มีระดับราคาอยู่ในงบประมาณ
  • ไม่มองทรัพย์ที่มีราคาสูงเกินงบประมาณ แม้ว่าดูแล้วน่าสนใจก็ตาม
  • งบประมาณที่ตั้งนั้น ควรจะรวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายที่กรมที่ดิน ,ค่าประกัน , ค่าซ่อมแซม เป็นต้น
2) รู้วัตถุประสงค์ตัวเอง : เมื่อมองหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน คุณย่อมต้องรู้ว่าเป้าหมายการลงทุนอสังหาครั้งนี้คืออะไร ? ลงทุนทรัพย์ประเภทไหน ? นั้นเป็นไปตามแผนการณ์ที่คุณวางไว้หรือไม่? คุณจะมีหลักยึดและไม่ไขว้เขวเอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในการเลือกทรัพย์ลงทุน
  • เลี่ยงการตัดสินใจลงทุนเพราะชอบทรัพย์นั้นเป็นการส่วนตัว ซึ่งอยู่นอกเป้าหมายที่ตั้งใจไว้
  • รูปลักษณ์ทรัพย์จะเป็นกับดักอารมณ์ที่เกิดข้อพลาดทางการเงินได้ เช่น ต้องการลงทุนคอนโดเพื่อปล่อยเช่า แต่เลือกลงทุนห้องที่ตกแต่งดีเกินไป มีเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง เกินกว่าจะนำมาเป็นห้องเช่า เป็นต้น
3) ให้เวลากับผลตอบแทน : บางคนเข้าใจว่าการลงทุนอสังหาแบบเกร็งกำไรจะให้ผลตอบแทนดี คืนทุนเร็ว ชนิดจับเสือมือเปล่า ซึ่งจะเป็นจริงได้ เมื่อคุณเป็นนักลงทุนตัวจริงที่เข้าใจจริงๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายหรือจะเกิดขึ้นกับทุกคนได้ การเกร็งกำไรอาจให้ผลตอบแทนที่ดีแต่ก็ต้องแลกกลับมาด้วยความเสี่ยงต่อการขาดทุนเช่นกัน ดังนั้น ควรใช้เวลาเลือกทรัพย์ลงทุนที่ดีมีศักยภาพ แล้วคอยดูผลตอบแทนที่ค่อยโตขึ้นไปเรื่อยในอนาคตดีกว่า

วิธีที่ 3 : ไม่คิดเองเออเอง ไม่มีมีเจ๊ง

1) เข้าใจทรัพย์ตามที่ควรจะเป็น : อีกหนึ่งปัญหาข้อพลาดสำหรับการลงทุนอสังหา คือการวาดฝันอนาคตที่ไม่รู้ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ ? การลงทุนอสังหาไม่มีอะไรที่รวยง่ายรวยเร็ว หากคุณกำลังคิดว่าทรัพย์ที่คุณเลือกลงทุนนั้นเหมาะสมทุกอย่างและมีศักยภาพในอนาคตจริง มีอะไรเป็นหลักฐานยืนยันเหตุผลตามความจริงของสิ่งนั้นได้บ้าง เช่น ที่ดินผืนนี้ยังไงก็ต้องร้อนแรง เพราะบริเวณนี้ไม่แปลงที่ดินผืนใหญ่แบบนี้อีกแล้ว เป็นต้น 2) เข้าใจค่าใช้จ่ายที่ซ่อนอยู่ : ลงทุนอสังหา ควรมองครบรอบด้าน ไม่ว่าจะเรื่องปรับปรุง,ตกแต่ง,หรือซ่อมแซมตามอายุอาคาร หรือจะเป็นรายละเอียดของเรื่องอาคาร,เฟอร์นิเจอร์ ,ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน ล้วนเป็นเรื่องไม่สามารถมองข้ามได้ทั้งสิ้น
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรจะต้องซ่อมหรือซื้อทดแทน
  • การดูแลสภาพบ้าน การทาสีใหม่
  • การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์, ข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน ,สุขภัณฑ์
3) มีแผนรองรับ : สิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนอสังหา คือ การเตรียมแผนรองรับฉุกเฉินไว้บ้าง จินตนาการภาพเลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นให้การลงทุนครั้งนั้น หากทรัพย์ที่เราเลือกลงทุน ดูจะไม่เป็นไปตามที่หวังเอาไว้ เช่น ต้องการลงทุนเกร็งกำไรเอาส่วนต่างราคา หากขายได้ช้าเกินไป อาจเปลี่ยนเป็นการซ่อมแซมแล้วนำออกขายในราคาที่ดีขึ้น หากขายไม่ออก อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นการปล่อยเช่า หรือ ท้ายที่สุดอาจจะต้องขายขาดทุนหรือเก็บเป็นที่พักอาศัยส่วนตัว เป็นต้น --เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก