“การซื้อบ้าน” เป็นเป้าหมายในฝันของชีวิตใครหลายๆคน เพราะบ้านเป็นปัจจัยที่จำเป็นในชีวิต ทำให้บ้านมีราคาที่สูงขึ้นตามความต้องการและอัตราเงินเฟ้อ การจะเก็บเงินเพื่อจะซื้อบ้านซักหลังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ต้องผ่านหลายขั้นตอนทั้งการสำรวจราคา กู้ยืมธนาคาร ทำให้การซื้อบ้านเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับหลายคน แต่หากมีการเตรียมตัวที่ดี มีข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นไปตามขั้นตอน การซื้อบ้านก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป

9 ขั้นตอนต่อไปนี้ จะช่วยอธิบายวิธีการเตรียมความพร้อมก่อนซื้อบ้าน และแนะนำเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างทาง

1. ตรวจสอบกำลังซื้อของตนเอง

ก้าวแรกของการเตรียมความพร้อมก่อนจะซื้อบ้าน นั่นก็คือต้องกำหนดราคาที่ไม่เกินกำลังซื้อของเรามากเกินไป แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรมองหาบ้านที่ราคาไม่เกิน 2-3 เท่าของรายได้ต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่มากเกินกำลังจนเกินไป

นอกจากนี้เราต้องประเมินกำลังการผ่อนชำระค่างวดต่อเดือน  ซึ่งปกติแล้วธนาคารมักจะให้กู้ในวงเงินประมาณ 15-25% ของรายรับต่อเดือนหลังหักค่าใช้จ่ายส่วนตัว แต่ผู้ซื้อบ้านควรมีเงินออมอย่างน้อยที่สุดประมาณ 10% ของราคาบ้าน หรือถ้าจะให้ดีควรมากกว่า 20% ขึ้นไป

Case Study 5 : รายได้เท่าเดิม อยากซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่แพงกว่า ควรทำอย่างไร ? สังคมปัจจุบัน มีผู้สนใจอยากมีธุรกิจส่วนตัวกันไม่น้อย จากการเริ่มต้นวัยทำงาน หาประสบการณ์ชีวิต ด้วยการเป็นมนุษย์เงินเดือนในด้านที่ร่ำเรียนมา เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพ หรือจุนเจือครอบครัวตามแต่ฐานะ เมื่อเวลาผ่านไป ได้รู้จักผู้คนมากขึ้น มีเงินเก็บมากขึ้น ก็อยากนำไปลงทุนต่อยอดในสิ่งที่ตนรัก

2. เลือกธนาคารที่เหมาะสม

เมื่อทราบราคาบ้านและกำลังการผ่อนชำระรายเดือนคร่าวๆแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเลือกธนาคารเพื่อกู้ยืมเงิน ซึ่งแต่ละธนาคารมีอัตราดอกเบี้ย และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร สิ่งสำคัญที่สุดในการพิจารณาเพื่อเลือกธนาคารคืออัตราดอกเบี้ยว่าเป็นในรูปแบบที่ต้องการหรือไม่ เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่หรือเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ฯลฯ จากนั้นค่อยพิจารณาเทียบกันว่าธนาคารใดสูงหรือต่ำกว่า และเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ทางธนาคารจะเรียกเก็บ เช่น ค่าประเมิน,ค่าธรรมเนียมต่างๆ

เอกสารการเงิน & หลักการอนุมัติสินเชื่อธนาคาร ( 5'C) การเตรียมเอกสารการเงินให้พร้อม ดูเหมือนมีชัยไปกว่าครึ่งสำหรับการยื่นกู้ขอสินเชื่อธนาคาร เพราะความน่าเชื่อถือทางการเงิน ย่อมแสดงถึงความตั้งใจจจริง ที่จะดำเนินธุรกิจธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกัน

3. จำลองการบริหารเงินก่อนซื้อบ้านจริง

หากการเขียนลงกระดาษว่าบ้านราคาเท่านี้ ผ่อนรายเดือนเท่านี้ยังไม่สามารถทำให้นึกภาพออกได้ ลองจำลองสถานการณ์จริงก่อนซื้อบ้าน โดยการรวมเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อบ้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนรายงวด, ค่าประกัน, ค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าตกแต่ง โดยแยกออกมาจากกองเงินเดือนต่างหาก และนำ “ค่าเช่ารายเดือน” ที่ท่านจ่ายเพื่อเช่าบ้านหลังปัจจุบันหักออก ก็จะเหลือเงินที่ท่านจะต้องจ่ายเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ในทุกๆเดือน หากท่านคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมานี้ ไม่ได้เป็นภาระหรือทำให้ต้องลดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากนัก นั่นก็แสดงว่าราคาบ้านที่กำลังมองหานั้น มีความเป็นไปได้สำหรับรายได้ของท่าน

Case Study 2 : ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย ควรขอสินเชื่ออย่างไร ? ในปัจจุบัน หากต้องการซื้อบ้านหลังใหม่เพื่ออยู่อาศัย แต่ด้วยทุนที่มีอยู่อย่างจำกัด ถ้าจะรอเก็บเงินครบตามจำนวนเพราะไม่อยากเป็นหนี้ กว่าจะถึงเวลานั้น บ้านที่

4. Check list บ้านในฝัน

มีผู้โชคดีเพียงไม่กี่คนนัก ที่จะเจอบ้านที่เพียบพร้อมด้วยทุกอย่างภายใต้งบอันจำกัด ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มออกสำรวจบ้านในฝัน ท่านควรจดรายการต่างๆที่คิดว่าอะไรบ้างที่ “ต้องมี (Must haves) ในบ้าน และอะไรบ้างที่ “ไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีก็ดี (Nice to have)” ตัวอย่างสิ่งที่ “ต้องมี” ในบ้าน เช่น ระบบไฟฟ้า ประปาที่พร้อมใช้, จำนวนห้องนอนห้องน้ำที่ครบตามต้องการ

การทำ Check list แบบนี้ก็เพื่อเตือนใจในสิ่งที่ “สำคัญ” จริงๆ ไม่ให้หลงไปกับสิ่งไม่จำเป็นที่อาจล่อให้ต้องจ่ายเงินเกินกว่าที่จำเป็น

เลือกบ้านบนพื้นฐานความเป็นจริง บ่อยครั้งที่ผู้ซื้อมักจะหลงรักบ้านหลังใดหลังหนึ่งที่ตัวเองไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ อาจจะด้วยงบประมาณ ทำเลที่ตั้งที่ไม่เอื้อต่อรูปแบบการใช้ชีวิต หรือมีข้อบกพร่องด้านสภาพแวดล้อมอื่นๆ นั่นเป็นเพราะความชอบใจเกิดขึ้นได้จากหลายๆ เหตุผล

5. ออกสำรวจหาบ้าน

ช่องทางการซื้อบ้านนั้น มีอยู่หลายวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากเป็นบ้านโครงการใหม่ก็ไม่ยุ่งยากนัก คือการติดต่อกับตัวแทนขายโครงการโดยตรง แต่หากเป็นการซื้อ “บ้านมือสอง” ก็จะมีอยู่ 4 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้

  • ซื้อกับเจ้าของโดยตรง เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด สามารถเจรจาต่อรองกันได้โดยตรง แต่การซื้อโดยวิธีนี้ต้องตรวจสอบเรื่อง “นิติกรรมสัญญา” ให้รอบคอบ
  • ซื้อผ่านนายหน้า เป็นวิธีที่นิยมที่สุด เนื่องจากความสะดวกสบายในกระบวนการ มีแบบบ้านและราคาให้เลือกอย่างหลากหลาย โดยมีค่านายหน้าประมาณ 3% ของราคาขาย
  • ทรัพย์สินหลุดจำนอง วิธีนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้บ้านราคาถูกกว่าตลาด สามารถขอสินเชื่อได้ง่าย อีกทั้งดอกเบี้ยยังต่ำกว่าปกติ เนื่องจากทางธนาคารเจ้าของบ้านจะให้สินเชื่อเอง แต่บ้านส่วนมากที่หลุดจำนอง มักจะมีสภาพทรุดโทรม บางทีอาจจะมีลูกบ้านยังมีชื่อติดอยู่ ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนซื้อ
  • ประมูลจากกรมบังคับคดี บ้านที่มาจากการประมูลกรมบังคับคดีนั้นมีราคาถูกกว่าตลาดเกือบ 50% แต่ก็จะมีกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ซึ่งใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานกว่าจะได้บ้านมา

ตามหาบ้านมือสอง ซื้อบ้านไว้อยู่สักหลังไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ยิ่งเป็นบ้านมือสองด้วยแล้ว ไม่ได้ติดป้ายเปิดตัวรายวัน เหมือนโครงการใหม่ๆ ถ้าตกลงปลงใจจะมองหาสักหลัง จะไปหาได้ที่ไหน ต้องดูอะไร สังเกตอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ยิ่งคิดข้อสงสัยยิ่งตามมามากมาย ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ได้มีอะไรซับซ้อนขนาดนั้น

เตรียมตัวประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี คงเคยได้ยินกันมาบ้างว่าบ้านที่ได้จากการประมูลของกรมบังคับคดีนั้น ราคาถูกกว่าท้องตลาดเกือบครึ่ง และเมื่อเอามาปรับปรุงใหม่บางรายทำกำไรได้อย่างงาม ซึ่งหากไปดูขั้นตอนจากกรมบังคับคดีก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก สนใจทรัพย์ เตรียมหลักฐานและเอกสารไปในวันที่จัดการประมูล หากให้ราคาสูงสุดก็จบ ได้บ้านราคาถูกมาครอบครองสมใจ ง่ายดายและสวยงามจริงๆ?

6. เทคนิคต่อรองราคา

เมื่อได้บ้านที่ถูกใจพร้อมด้วยคุณสมบัติที่ต้องการ ก่อนตกลงอาจจะมีทริคเล็กน้อยในการต่อรองราคาบ้านให้ถูกลงมาอีก โดยขั้นแรก สำรวจบ้านในทำเลเดียวกันเพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบราคา ซึ่งหากบ้านที่สำรวจมีราคาถูกกว่าอาจจะนำมาใช้ต่อรองว่าราคาตลาดต่ำกว่าที่ขาย

ต่อมาคือพิจารณาว่าผู้ขายรีบร้อนที่จะขายมากน้อยแค่ไหน หากผู้ขายร้อนเงินก็อาจจะสามารถต่อรองราคาได้อีก สุดท้ายคือสภาพแวดล้อมของบ้าน เพราะหากเป็นบ้านที่ไม่ได้อยู่ในทำเลที่เป็นใจกลางเมืองหรือทำเลที่โดดเด่นมากนัก ก็อาจจะสามารถต่อรองราคาลงมาได้อีก

ต่อรองราคาให้ได้บ้านถูกใจ ทุกคนที่ซื้อบ้านต่างก็ต้องการบ้านที่คุ้มค่า คำว่าคุ้มค่าในที่นี้คือบ้านที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิต เข้ากันได้ดีกับรสนิยมของคนในครอบครัว และแน่นอนว่า ราคาสมเหตุสมผล ซึ่งราคาสมเหตุสมผลกับราคาถูกเกินไปมีความแตกต่างกัน บ้านมือสองมีข้อดีคือสามารถต่อรองราคาจากเจ้าของบ้านได้ แต่จะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเทคนิคส่วนตัวของแต่ละคน

7. ตรวจสอบสัญญาและเอกสารการยื่นกู้

เมื่อตกลงในเรื่องราคาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนซื้อบ้านคือ การทำความเข้าใจ “สัญญาซื้อขาย” ให้ละเอียดและถูกต้องก่อนเซ็นสัญญา เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ของตนเอง เพราะหากเซ็นสัญญาไปแล้ว และมาพบเจอปัญหาภายหลังไม่สามารถตามให้เจ้าของบ้านคนก่อนกลับมารับผิดชอบได้

สิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบก่อนซื้อขายคือ กรรมสิทธิ์ของบ้านและสภาพบ้าน หากพบว่าสภาพบ้านยังไม่เรียบร้อยก็สามารถให้เจ้าของบ้านแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมขาย

ธุรกรรมและสัญญา TerraBKK รวบรวมหนังสือและสัญญาต่างๆที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ ...

วิธีตรวจสอบสภาพอาคารก่อนตัดสินใจซื้อ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับขั้นตอนการเลือกบ้านมือสอง คือ "สภาพบ้าน" เพราะมีการอยู่อาศัยมาแล้ว ทำให้สภาพบ้านอาจเสื่อมโทรมไปบ้าง โดยเฉพาะบ้านที่ผ่านกระบวนการบังคับคดีที่ใช้เวลานาน

8. เซ็นเอกสาร

ก่อนวันเซ็นเอกสาร ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านพร้อมทั้งหมดแล้วสำหรับการซื้อบ้าน ทั้งเรื่องเงิน, เอกสาร และค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่ผู้ซื้อตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนัดเจ้าของบ้านทำหนังสือสัญญาซื้อขาย หลังจากเซ็นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ผู้จะซื้ออาจทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน เพื่อขอตรวจสอบความถูกต้องของโฉนดที่ดินอีกครั้ง

9. ตามหาประกันภัยให้บ้าน

เมื่อกู้ยืมเงินจากธนาคารแล้ว โดยส่วนใหญ่ธนาคารจะบังคับให้เราทำประกันบ้าน ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีประเภทการคุ้มครองและเบี้ยประกันที่แตกต่างกันออกไป โดยประกันขั้นพื้นฐานทั่วไปส่วนใหญ่คือ ไฟไหม้, โจรกรรม, ภัยธรรมชาติ ฯลฯ สำหรับความแตกต่างของแต่ละบริษัทต้องศึกษาในเรื่องของเงื่อนไขต่างๆ และเบี้ยประกันที่แตกต่างกันออกไป

รู้จักประกันภัยเกี่ยวกับบ้าน เจ้าของบ้านหลังใหม่ในปัจจุบันที่มีบ้านโดยผ่านขั้นตอนการขอสินเชื่อ ต่างโอดครวญกันมาหลายเสียง เกี่ยวกับข้อเสนอขายกรมธรรม์ที่พ่วงมาเป็นเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ด้วยจำนวนเบี้ยประกันที่ถือว่าสูงมากและจ่ายในงวดเดียว ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่าทำไมต้องทำ ทำแล้วได้อะไร