ภายใต้ตลาดอสังหาที่มีการแข่งขันกันอย่างร้อนแรง ทุกเจ้าต่างงัดกลยุทธ์ทำการตลาดกันชนิดไม่มีใครยอมใคร ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่น รับส่วนลดเงินสด , ฟรีค่าใช้จ่ายวันโอน , แถมฟรีเฟอร์นิเจอร์ , อัตราดอกเบี้ยพิเศษ เป็นต้น ซึ่งโปรโมชั่นเหล่านี้ มักเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคแบบได้แล้วก็จบไป หากสังเกตโปรโมชั่นใหม่ในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สะกิดใจ หรือยังไม่ค่อยเข้าใจมันมากนักอย่าง Cash Back (รับเงินคืน) ด้วยความต่างที่ไม่เหมือน “ส่วนลดเงินสด” และประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ อาจมากกว่าที่เคยเข้าใจ ดังนั้น

Cash Back (รับเงินคืน) คืออะไร ? Cash Back (รับเงินคืน) ของโปรโมชั่นอสังหา จะเป็นการรับเงินคืนเมื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์บ้านเรียบร้อยแล้วภายในระยะเวลาตามแต่โครงการนั้น ๆ กำหนด จึงต่างจาก “ส่วนลดราคา” ที่หักลดทันทีจากราคาขาย ความต่างเพียงเล็กน้อยนี้ ซ่อนประโยชน์อยู่หลายประการในแง่ผู้บริโภค เช่น ยื่นกู้วงเงินอ้างอิงราคาเต็มอสังหา , เงินสดสำหรับซื้อของแต่งบ้าน , เงินสดเพื่อใช้สนับสนุนการลงทุน , เพิ่มอัตราผลตอบแทนจากการปล่อยเช่า , ไม่เสียราคาอ้างอิงเมื่อต้องการ ขายอสังหาชิ้นนั้น เป็นต้น เพื่อทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้น ขออธิบายไล่เรียงทีละข้อ ดังนี้

1. ยื่นขอสินเชื่อในวงเงินอ้างอิงราคาบ้านเต็มจำนวน การซื้ออสังหาริมทรัพย์สักชิ้น น้อยคนนักที่จะสามารถซื้ออสังหาฯ ด้วยเงินสดตนเองเต็ม 100% จำนวน โดยปกติแล้ว การอนุมัติวงเงินสินเชื่อจะอยู่ 80-90% ของราคาบ้าน หมายความว่า ยิ่งราคาบ้านสูง วงเงินสินเชื่อย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย ณ ระดับความสามารถผ่อนจ่ายของบุคคลนั้น ๆ ดังนั้น Cash Back(รับเงินคืน) มีประโยชน์ช่วยคงราคาอสังหาฯ ชิ้นนั้นเพื่อใช้อ้างอิงขนาดวงเงินกู้ได้ เพราะไม่ได้ทำให้ราคาบ้านลดลง จึงไม่ส่งผลกระทบต่อวงเงินสินเชื่อ ต่างจาก “ส่วนลดเงินสด” ที่หักลบจากราคาอสังหาฯ ชิ้นนั้นทันที ราคาบ้านที่ใช้อ้างอิงในการคำนวณขนาดวงเงินสินเชื่อจึงลดลงตามไปด้วย    ยกตัวอย่าง คอนโดมิเนียม 2,290,000 ลบ.

• กรณี “Cash Back 500,000 บาท” สามารถขอวงเงินสินเชื่อสูงสุด 2,290,000 x 90% = 2,061,000 ลบ.พร้อมรับเงินคืน Cash Back 500,000 บาทหลังจากโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว

• กรณี “ส่วนลดเงินสด 500,000 บาท” สามารถขอวงเงินสินเชื่อสูงสุด ( 2,290,000 – 500,000) x 90% = 1,611,000 บาท ดังนั้นจะเห็นว่า Cash back คุณจะมีเงินเหลือ 2,061,000 – ( 2,290,000-500,000) = 271,000 บาท และมูลค่าอสังหาของคุณก็เท่ากับ 2,290,000 บาทคงเดิม ในทางกลับกัน ส่วนลดเงินสด คุณจะต้องนำเงินส่วนตัวไปจ่ายส่วนต่าง (2,290,000 – 500,000)-1,611,000 = 179,000 บาท พร้อมกับมูลค่าหลักทรัพย์ของคุณก็ต่ำกว่าคือเท่ากับ 1,790,000 บาท

2. ใช้เป็นทุนตกแต่งบ้านหรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ได้ตามใจชอบ จบปัญหาเรื่อง “ซื้อบ้านแต่ไม่ชอบเฟอร์นิเจอร์” เพราะโปรโมชั่นที่เราคุ้นเคย เช่น “แถมฟรีเฟอร์นิเจอร์” ที่มักกำหนดมาเป็นมาตรฐาน โดยไม่มีโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกเอง หรือ “Gift Vouchers” ที่มักมีข้อจำกัดในเรื่องของแบรนด์ หรือยี่ห้อเฟอร์นิเจอร์ ที่อาจจะไม่ถูกใจผู้บริโภครายนั้น ๆก็ได้ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้เองคือจุดที่แตกต่างจาก Cash Back เนื่องจาก Cash Back เป็นการคืนเงินสดจำนวนหนึ่งที่ผู้บริโภคต้องการแต่งบ้านสามารถนำเงินไปเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ได้เองตามใจชอบ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อกำหนดใด ๆ

3. ใช้เป็นทุนหมุนเวียนเพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ เพราะการถือครองอสังหาริมทรัพย์ นอกจากจะเป็นทรัพย์สินเพิ่มความมั่งคั่งแก่ตนเองแล้ว ยังสามารถใช้เป็นหลักประกันค้ำธุรกิจได้ด้วย ซึ่ง Cash Back (รับเงินคืน) เองก็สามารถสร้างประโยชน์แก่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้เช่นกัน ใช้เงินสดที่ได้รับคืนอย่าง Cash Back ให้เกิดประโยชน์ในทางที่ควรในแง่ของเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ ข้อพึงระลึก!! มันจะไม่เกิดประโยชน์และหลงประเด็นทันที หากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับจำนวนเงิน Cash Back ก่อนตอบตนเองถึงความต้องการซื้ออสังหาฯ ชิ้นนั้นเพื่ออะไร

4. ใช้เป็นทุนสนับสนุนพอร์ตการลงทุน ภายใต้แนวคิด Passive Income การมีรายได้โดยไม่ต้องทำงาน หรือ OPM : Other People Money การใช้เงินคนอื่นมาลงทุนแทน เป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนมองว่าอสังหาริมทรัพย์จะเป็นเครื่องมือพาไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ ได้ ดังนั้น ในแง่ผู้บริโภคที่เป็นนักลงทุนอสังหาฯ แล้ว Cash Back (รับเงินคืน) จะเป็นประโยชน์ได้ด้วย การบริหารเงิน Cash Back ที่ได้มาสนับสนุนพอร์ตการลงทุนของตนเอง เช่น ใช้เป็นเงินดาวน์อสังหาฯแห่งใหม่ที่ต้องการซื้อ , ใช้เป็นเงินซ่อมแซมอสังหาฯ ปล่อยเช่าชิ้นเก่า เป็นต้น

5. ไม่เสียราคาอ้างอิงเมื่อต้องการขายอสังหาฯชิ้นนั้น การประกาศขายอสังหาฯสักแห่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบ้านหรือคอนโดมิเนียม นอกจากตัวเลขกำไรที่ตนเองพึงพอใจแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือเรื่องของราคาตลาดของประเภททรัพย์นั้น ๆ เพราะผู้บริโภคในแง่ผู้ซื้อผู้ขาย ย่อมต้องพิจารณาเปรียบเทียบราคาเป็นเรื่องปกติ ทรัพย์ประกาศขายราคาสูงกว่าตลาดย่อมปิดการขายได้ยาก ขณะเดียวกันการกดราคาต่ำ ก็ไม่เป็นผลดีในแง่ของตัวเลขกำไรต่อฝั่งผู้ขาย ประโยชน์ส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นจาก Cash Back (รับเงินคืน) จึงเกิดขึ้นเพราะ Cash Back ไม่ได้ลดราคาบ้านลงจากวันที่ซื้อ ราคาตลาดของโครงการนั้น จึงอ้างอิงราคาเต็มจำนวนเดิม จึงมีช่องว่างกำไร ระหว่างต้นทุนจริง (ราคาบ้านหลังได้รับ cash back) กับราคาตลาด(ราคาบ้านเดิม) แม้จะลดราคาขายลงก็ยังมีโอกาสทำกำไรจากการขายได้

• ตอนซื้อ : ต้นทุนจริง 1,790,000 บาท ( =2,290,000-500,000 ) แต่ว่าราคาตลาดโครงการนี้ยังคงอยู่ที่เดิม 2,290,000 บาท

• ตอนขาย : หากลดราคาขายลง 300,000 บาท ประกาศขายราคา 1,990,000 บาท กลายเป็นว่าขายถูกกว่าภาพรวมตลาด (2,290,000 บาท) นั่นเอง

ทั้งหมดนี้ อาจกล่าวได้ว่า ประโยชน์ Cash Back อสังหาฯ ผู้บริโภคในบทบาทต่าง ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ไม่ว่าจะเป็น ด้านการยื่นกู้สินเชื่อ ช่วยคงราคาอสังหาฯ เพื่อใช้อ้างอิงขนาดวงเงินกู้ ด้านการตกแต่งบ้าน ที่สามารถนำเงินไปเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ได้เองตามใจชอบ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อกำหนดใด ๆ ด้านเงินทุนสนับสนุนธุรกิจและพอร์ตการลงทุน ในแง่เงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ หรือ ด้านการขาย จากช่องว่างกำไรระหว่างต้นทุนจริงกับราคาตลาด แม้จะลดราคาขายลงก็ยังมีโอกาสทำกำไรจากการขายได้ เป็นต้น

“ แน่นอนว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะมีแต่ข้อดีโดยปราศจากข้อเสีย เพราะเมื่อใดก็ตาม ผู้บริโภคให้ความสำคัญก้อนเงิน Cash Back มากกว่าความต้องการซื้ออสังหาฯจริง หรือ ใช้เงินไปในทางที่ผิด ประโยชน์ที่กล่าวไปข้างต้นจะกลายต้นเหตุวิกฤติการเงินส่วนบุคคลได้ อสังหาฯที่ดูจะเป็นทรัพย์สิน อาจจะกลายเป็นหนี้สินทันที วินัยทางการเงินจึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญ”

ท้ายสุด Cash Back นั้นจะมีประโยชน์ทั้ง กับกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัย ที่จะนำเงินส่วนต่างที่ได้รับไปเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง และกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ ทั้งต้องการปล่อยเช่าและขายทำกำไร เพราะเป็นการนำ Other Money People มาหมุนเวียนใช้จ่าย และสำคัญที่สุด มูลค่าของอสังหาฯไม่ถดถอยตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ นั่นเอง!! ขอบคุณข้อมูลจาก www.sansiri.com