5 อุบัติเหตุที่อันตรายที่สุด! ในช่วงปิดเทอม
ลูกน้อยปิดเทอมแล้ว คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองคงคิดว่าหายห่วง เพราะอยู่ใกล้สายตาเรามากที่สุด แต่รู้หรือไม่?? การอยู่บ้านไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป แถมยิ่งยังต้องระมัดระวังมากขึ้นอีกด้วย เพราะสุดท้ายคงหนีไม่พ้นเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุและภัยต่างๆจากลูกน้อย
จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ กล่าวว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิต ที่พบมากที่สุดจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งเป็นช่วง “ปิดเทอม” ของเด็กๆ ยิ่งเป็นช่วงวัยอายุ 1-14 ปี ช่วงที่เด็กเริ่มมีพัฒนาการ เป็นวัยที่อยากรู้ อยากเห็น จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
คุณพ่อคุณแม่ หรือ ผู้ปกครอง พยายามอย่าปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวโดยไม่มีคนดูแล หรือเป็นไปได้ต้องอยู่ด้วยตลอด อย่าให้คาดสายตาเด็ดขาด วันนี้ ANC จะมาบอก 5 ข้อ ของอุบัติเหตุที่มักจะเกิดกับเด็กมากที่สุด มีดังนี้
อุบัติหตุดังกล่าวนี้ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของเด็กไทย ดังนั้น ผู้ปกครองควรที่จะอยู่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าคลาดสายตา อย่าให้เด็กเล่นใกล้แหล่งน้ำ หรือตามคลอง แต่หากบริเวณบ้านมีบ่อหรือตุ่ม ก็ต้องปิดฝาไว้เสมอ และควรทำรั้วกั้นสระน้ำหรือบ่อน้ำ และที่สำคัญที่สุด ควรสอนเด็กว่ายน้ำให้เป็นเพื่อเอาตัวรอดเป็น หรือสามารถลอยตัวในน้ำให้เป็น และต้องเน้นย้ำกับเด็กเสมอว่า “กรณีไปเล่นน้ำและเพื่อนจมน้ำ ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมโดยเด็ดขาด” แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน
จากสถิติพบว่า เกิดอุบัติเหตุยานยนต์กับเด็กกว่า 3,520 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากรถจักรยานยนต์ ดังนั้น หากจะเป็นที่จะต้องให้เด็กซ้อนท้ายผู้ปกครองต้องให้เด็กสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง และหมวกกันน็อคต้องเป็นหมวกที่ถูกต้องตามมาตรฐาน มีขนาดที่หมาะสมสำหรับเด็ก ที่สำคัญผู้ปกครองต้องห้ามเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปีขับขี่รถทุกประเภทเด็ดขาด
พอเข้าช่วงปิดเทอมพบว่ามีเด็กที่เกิดจากอุบัติเหตุจากการพลัดตกจากที่สูงหรือสิ่งของล้มทับ เป็นจำนวน 2,155 ครั้ง โดยพื้นที่เสี่ยงที่มักก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็คือ บ้าน ระเบียง บันได สนามเด็กเล่น หรืออาคารสูง ผู้ปกครองควรคอยอยู่ดูแลอย่างใกล้ชิด
หรือควรทำที่กั้นเพื่อป้องกันเด็กพลัดตกด้วย
ยิ่งเป็นช่วงหน้าร้อน ปิดเทอมซัมเมอร์คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองมักจะพาลูกหลานไปเที่ยวทะเล ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะถูกแมงกะพรุนที่อยู่ในทะเล หรือสัตว์มีพิษอื่น ๆ กัด จากสถิตินั้นมีการเกิดอุบัติเหตุสูงถึง 500 ครั้ง
หากเด็กมีการถูกแมงกระพรุนพ่นพิษใส่ วิธีที่ปฐมพยาบาลเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่ หรือปกครองควรรีบหาซื้อน้ำส้มสายชูลางแผลทันที ไม่ควรใช้น้ำจืด หลังจากนั้นรีบนำเด็กไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ส่วนในกรณีที่เด็กถูกหอยเม่นดำตำ จะมีอาการบวมแดง เจ็บปวดและอาจะเป็นไข้ได้ ดังนั้นต้องให้รีบถอนหนามออก หรือไปแช่แผลในน้ำร้อน เพื่อช่วยให้หนามย่อยสลายได้เร็วขึ้นหากหาน้ำร้อนไม่ได้ ควรรีบพาไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
จากสถิติพบว่า มีการเกิดอุบัติหตุจากสาเหตุไฟดูด ไฟช็อตจำนวน 86 ครั้ง โดยเกิดจากการที่เด็กนำนิ้วหรือวัตถุอื่น ๆ ไปแหย่รูปลั๊กไฟ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาอุปกรณ์มาครอบหรือปิดปลั๊กไฟภายในบ้าน ให้เด็กอยู่ห่างจากจุดอันตราย แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง ก็ให้ใช้วัสดุที่ไม่นำกระแสไฟฟ้า เช่น เชือกที่แห้ง ผ้าแห้งผลักหรือฉุดตัวลูกน้อยให้หลุดออกมาโดยเร็วที่สุด วัยเด็กเป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการเจริญเติบโตและเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ไม่อยู่นิ่งซุกซน จึงเป็นวัยที่เสี่ยงจะได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุได้ง่าย
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองต้องอย่าไม่ให้คลาดสายตา เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้น บางครั้งก็มีสาเหตุจากการขาดความระมัดระวังผู้ปกครองเอง เหมือนหลาย ๆ ข่าวที่เห็นกันตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือตามโซเซียลต่าง ๆ พอเกิดความสูญเสียจนแทบจะขาดใจ
จะดีกว่าไหมถ้ารู้ทัน ระวังภัยและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่น ๆ การมีประกันก็จะช่วยให้คุณบริหารความเสี่ยง ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เป็นการวางแผนครอบครัวไปจนถึงการดูแลครอบครัวให้รับการรักษาที่ดี หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นมา อย่างน้อยยังมีประกันที่ยังคุ้มครอง
Discussion
Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.