นับตั้งแต่การเกิดไวรัสโควิด-19 ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยเฉพาะการดูแลความสะอาด และรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันจากเชื้อไวรัส แน่นอนว่าหลังจากนี้ทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับงานออกแบบอาคารใหม่ ๆ ที่จะต้องตอบโจทย์ในยุค New Normal  โดยเฉพาะเรื่องการออกแบบพื้นที่ค้าปลีก เพราะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติโควิด 19 ครั้งนี้   TerraBKK ได้พูดคุยกับ ดร. จักรกฤษณ์ เหลืองเจริญรัตน์ Studio Director บริษัท เก็นสเล่อร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมตกแต่งภายใน และผังเมือง ถูกจัดให้เป็น อันดับ 1 ของโลกด้านการออกแบบ โดย Architectureal Record ในปี 2020

เกี่ยวกับ Gensler
พัฒนาเครื่องมือสำหรับวางแผนและออกแบบสิ่งปลูกสร้างสำหรับโลกที่หลากหลาย

ในช่วงวิกฤตโควิด19 ของปีที่แล้วส่งผลกระทบให้หลายๆ อย่างต้องหยุดลงกลางคัน บริษัทออกแบบหลายแห่งได้ใช้โอกาสนั้นในการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บริษัท Gensler คือหนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุด ที่ใช้เวลาในปีที่แล้วพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องมือของบริษัท ซึ่งช่วยให้นักออกแบบ สามารถใช้ data ขับเคลื่อนการออกแบบ ย่าน อาคาร และ การตกแต่งภายใน ได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้สามารถมองเห็นภาพของโครงการที่สมบูรณ์แล้วในระดับ Human scale ทำให่สามารถทำการออกแบบให้เข้าถึงความหลากหลายของกลุ่มคนได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น อ้างอิงจาก www.fastcompany.com

เทรนด์การออกแบบ พื้นที่ค้าปลีก ปี 2021

            สำหรับการออกแบบและการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจค้าปลีก ในยุค โควิด-19 อาจจะต้องมอง 2 ช่วง คือ ก่อนโควิด-19 และหลังโควิด-19 ว่าโลกใบนี้จะเปลี่ยนแปลงยังไง โดยก่อนโควิด-19 เราคงต้องมองถึงการปรับตัวพื้นที่ ส่วนหลังจากโควิด-19 มันก็คงต้องปรับต่อไป เพราะว่าเราคงไม่ได้สร้างห้างสรรพสินค้าใหม่ได้ตลอดเหมือนสร้างคอนโดมิเนียมครับ เพราะว่ามัน reusable มีคนเข้า-ออก ตลอดเวลา ดังนั้นเราก็ต้องอยู่ในปัจจุบันนี่แหละครับ แต่ต้องมองว่าจะปรับอย่างไรให้ตอบโจทย์สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นหรือพฤติกรรมคนที่เปลี่ยนแปลงไป

            ใน เก็นสเล่อร์ Gensler เราก็ได้ทำ Research เพราะบริษัทเราให้บริการเรื่องของแบรนด์ การทำ retail - พื้นที่ค้าปลีกหรือ retail Center ซึ่งก็มีลูกค้าที่จะต้องการแนวทางปรับตัว เราก็ได้ทำงานระหว่างเจ้าของกิจการพื้นที่ค้าปลีก และลูกค้าที่เข้าไปจับจ่ายในห้าง เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นแนวทาง สังเกตว่า หลังจากที่รัฐบาลปลดล็อกมาตรการล็อกดาวน์ ก็มีผู้คนออกมาจับจ่ายที่ห้างสรรพสินค้าจำนวนมาก หลังจากที่ต้องอยู่ในบ้าน 4-5 เดือน แต่ในความเป็นจริงนั้นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนโควิด-19 คนส่วนหนึ่งไม่มาจับจ่ายใช้สอยที่ห้างฯแล้ว ซึ่งห้างแล้วก็ปรับตัวรับพฤติกรรมช็อปออนไลน์

            ซึ่งโควิด-19  มีผลต่อพฤติกรรมของคนให้หมุนเร็วขึ้น ทำให้การช็อปออนไลน์คือเป็นสิ่งปกติ จากเมื่อก่อนกังวลว่า ซื้อของออนไลน์มันจะดีอย่างไร ซื้อมาใส่ไม่ได้ ลองไม่ได้ แต่ปัจจุบันไม่ธรรมดาแล้ว ดังนั้นห้างฯ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตอบสนองกับผู้บริโภค

            อันแรกเลยครับเมื่อลูกค้าออกมาจากบ้านแล้ว แล้วห้างต้องปรับ ซึ่ง อันดับแรกที่ต้องทำคือ ร้านค้าปลีกจะต้องสร้างเรื่องราว สร้างตัวตน เพราะคนสมัยนี้ต้องการสร้างตัวตน ต้องผสมผสานกันในหลายส่วน ต้องมีสตอรี่ เพื่อดึงดูดลูกค้าเป้าหมายเข้าไป อันนี้เป็นโจทย์ใหม่ให้ห้างต้องปรับตัวหลังโควิด-19 ต้องสร้างให้ลูกค้าน่าสนใจกว่าการไปกินข้าวหรือไปธนาคารในช่วงวันหยุดเท่านั้น

            อันที่ 2 ที่ผมพูดถึงการสร้างประสบการณ์การเดินเข้าห้างเป็นยังไง ประสบการณ์การเดินผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง สนามบินที่สิงคโปร์ที่มีห้างเปิดใหม่ มีน้ำตกลงมา คนส่วนใหญ่ก็เข้าไปดูน้ำตก คนเข้าไปถ่ายรูปเซลฟี่กัน

            อันที่ 3 ก็คือเรื่องของดิจิตอล ทำยังไงให้ห้าง เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มดิจิตอลให้ได้ ซึ่งตอนนี้ทุกคนก็เริ่มทำเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเราจะไม่เห็นห้างเยอะมากนัก ก็ต้องคิดว่าจุดแข็งคือยังไง มี interactive มี Virtualization ผมมองว่าอินเทอร์เน็ตจะทำให้การช้อปปิ้งออนไลน์ไม่สิ้นสุด  เพราะจริง ๆ แล้วสมัยนี้มีที่ถ่ายรูป 3 มิติ มาอยู่ตรงนั้นตลอดเห็นค่าประสบการณ์เหมือนกัน กล่าวคือ ตอนนี้ห้างจำเป็นต้องมีดิจิตอล แพลตฟอร์มเพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อดึงคนมาสร้างประสบการณ์ที่ห้าง

            ต่อมา คือ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่เรียกว่า Test and Learn ปกติเราซื้อของออนไลน์ ลองสินค้าไม่ได้ คืนสินค้าไม่ได้ จึงเกิดเป็นคอนเซปต์ใหม่ที่ว่า ต่อไปในอนาคตห้างจะไม่ใช่ที่ซื้อของจริง ๆ แต่เป็นห้างที่คนไปทดลองใส่ หรือทดลองใช้สินค้า เพื่อกลับมาสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บสินค้า แต่ก็ยังต้องทำให้หน้าร้านนั้นสวย เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าไปทดลองใส่ หรือทดลองใช้  ประกอบกับ Virtual Reality ที่มองเห็นภาพ ยกตัวอย่าง “ห้างในอเมริกา” เป็นห้างใหญระดับไฮเอนด์ ที่ปรับคอนเซปต์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มเล็ก ๆ ได้มากขึ้น ด้วยการเปิดร้าน POP UP เพื่อให้ลูกค้าได้มีโอกาสเข้ามาทดลองสินค้า และสั่งซื้อออนไลน์ เพราะว่าห้างใหญ่ จะขยายสาขาไปทั่วเมืองได้ยาก  

         

             ในอนาคต “ห้าง” อาจจะเป็นแค่พื้นที่สำหรับไว้โชว์สินค้า แล้วก็มี DC ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีห้องเก็บของใหญ่ ๆ  เพื่อรอคนมาซื้อ เรามองว่า เทคโนโลยี และการขนส่งในปัจจุบันพัฒนาไปมาก ซึ่งการปรับช่องทางการขายแบบนี้จะทำให้ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่ในห้างเพื่อสต๊อกของ ทำให้เอามาลดราคาให้ลูกค้าได้ ลูกค้าก็จะกลับมาซื้อของได้ง่ายขึ้น

สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าใน retail ผ่าน 5 องค์ประกอบ

            เก็นสเล่อร์ Gensler ได้ทำงานวิจัยเจาะลึกถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าใน retail ซึ่งพบว่า มี 5 องค์ประกอบ ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าได้ดี ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในกลุ่มอาคารที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน, โรงแรม และพื้นที่ค้าปลีกด้วย

Task  คือ ทำยังไงก็ได้ให้ลูกค้าเข้ามาในพื้นที่ของเรามีจุดหมายของเขาได้

Social เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมถ้าเกิดเป็นพื้นที่ที่สามารถให้เจอเพื่อนได้เขาก็อยู่ในพื้นที่เราจะมากขึ้น  มีพื้นที่สังสรรค์

Entertainment  คือ บางทีในพื้นที่ ผมหมายถึงร้านอาหาร หรือ ร้านกาแฟ จะทำยังไงให้รู้สึกว่ามันไม่เหมือนกับที่เขาเคยอยู่ คนมาใช้จ่ายอยากจะอยู่ในพื้นที่ใหม่ ๆ มาผ่อนคลาย

 

Discovery  การทำให้ห้าง เกิดพื้นที่น่าค้นหา ทำให้ลูกค้าที่มีเวลาว่างสามารถอยู่ในพื้นที่เราตลอดเวลา ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ได้นาน ทำให้ลูกค้าจับจ่ายซื้อของต่อไป

Aspiration  คือ ทำให้พื้นที่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าอะไรบางอย่างเขาค้นหาแรงบันดาลใจให้ แล้วก็ Connect กับคนอื่นได้

"งานออกแบบพื้นที่ค้าปลีก จำเป็นต้องใส่ใจกับการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้มากขึ้น และสร้างงานดีไซน์ให้เกิดเรื่องราว เพื่อดึดดูดลูกค้าเป้าหมายให้เข้าไปสัมผัสและเพิ่มการจับจ่ายสินค้าในห้างได้มากขึ้น"

 

 
 Gensler พัฒนาเครื่องมือ G Blox สำหรับวางแผนและออกแบบสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งช่วยให้นักออกแบบ สามารถใช้ data ขับเคลื่อนการออกแบบ ย่าน อาคาร และ การตกแต่งภายใน ได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้สามารถมองเห็นภาพของโครงการที่สมบูรณ์แล้วในระดับ Human scale ทำให้สามารถทำการออกแบบให้เข้าถึงความหลากหลายของกลุ่มคนได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น ข้อมูลจาก archinect.com