สถานการณ์ Covid-19 ที่ดูจะยังไม่จบและอาจจะลากยาวถึงไตรมาส 3 ปี 2563 ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์กรุงเทพและปริมณฑล ทั้งปี 2563  คาดการณ์การเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงถึงร้อยละ 50 เท่ากับ 50,000 หน่วย (ปี 2562 มีการเปิดตัวโครงการใหม่รวมทั้งสิ้น 93,000 หน่วย) และคาดการณ์มีโอนโอนกรรมสิทธิ์ หรือที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนติดลบถึงร้อยละ 30 เท่ากับ 78,000 หน่วย

                โดยยอดการหดตัวของปี 2563 นี้ น่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 และคาดว่าคงไม่ตกต่ำไปกว่าปี 2548 ที่เกิดการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  โดยทั้ง 2 ช่วงเวลานั้นภาคประชาชน ก็เกิดความกังวลในความไม่มั่นคงในรายได้ เพราะไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร จะฟื้นตัวได้เมื่อไหร่

ข้อมูลสถิติจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ไทย (REIC)

            จากการเก็บข้อมูล TerraByte  พบว่าสินค้าคงเหลือ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ทั้งหมด 58,000 หน่วย ดังนี้

  • โครงการแนวราบ 28,000 หน่วย โดยสินค้าคงเหลือมากที่สุด จะเป็นทาวเฮ้าส์ราคา 1-2 ล้านบาท,บ้านเดี่ยว ราคา 3-5 ล้าน และบ้านแฝดราคา 3-5 ล้าน
  • โครงการคอนโดมิเนียม 30,000 หน่วย (ระดับราคา 40,000 – 80,000 บาทต่อตารางเมตรมากที่สุด)

                จากยอดคงเหลือทั้งหมดสินค้าที่น่าเป็นห่วงที่สุดคงเป็นคอนโดมิเนียมระดับราคา 1-3 ล้านบาท ที่มีจำนวนหน่วยมากที่สุด  เพราะเป็นสินค้าที่กลุ่มผู้ซื้อคือมนุษย์เงินเดือนระดับปฏิบัติการ ที่ความไม่มั่นคงทางรายได้มีสูง

โครงการคอนโดมิเนียมสินค้าคงเหลือ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

ข้อมูลสถิติจากการเก็บข้อมูล TERRABYTE : REAL ESTATE ANALYSIS APPLICATION

โครงการแนวราบสินค้าคงเหลือ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

            ข้อมูลสถิติจากการเก็บข้อมูล TERRABYTE : REAL ESTATE ANALYSIS APPLICATION

            หากดูจากสินค้าคงเหลือ 58,000 หน่วย และประมาณการหน่วยขายเปิดใหม่ในปี 2563 ที่ 50,000 หน่วย ตัวเลขรวมประมาณ 110,000 หน่วย ก็อาจจะเข้าสู่สมดุลของ Natural Demand ของสูตรอสังหาริมทรัพย์คือ 1% ของจำนวนประชากร (โดยประชากรของกรุงเทพและปริมณทล รวม 12 ล้านคน) ซึ่งหากประมาณการหน่วยพร้อมขายไม่ได้เพิ่มขึ้นจากนี้ โครงการเก่าๆ ที่มีอยู่ก็น่าจะขายได้หมดภายในปีนี้ แต่ทุกบริษัทก็ต้องปรับตัวจะช่วยลูกค้าอย่างไร ให้สามารถซื้อสินค้าได้ในภาวะ COVID-19

           จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ พบว่า มีการปรับตัวดังนี้

  1. การบริหารกระแสเงินสด โดยบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เร่งออกตราสารหนี้
  2. การประนอมหนี้ ทั้ง ขอลดดอกเบี้ย ยืดระยะเวลาการชำระหนี้
  3. การแบ่งเฟสการพัฒนาให้จำนวนยูนิตน้อยลง
  4. ลดราคาขาย เพื่อต้องการระบายยูนิตที่สร้างเสร็จแล้ว
  5. ปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเข้าสู่ดิจิตอล โดยการขายออนไลน์
  6. ปรับลดพนักงาน ทั้ง ไม่รับคนเพิ่ม
  7. ปรับแผนการขาย ผ่อนปรนเงินงวด เงินดาวน์ ช่วยลูกค้า ในช่วง 3 - 6 เดือน นี้

และท้ายสุดเริ่มเห็นสัญญาณการเลิกจ้างพนักงานระดับสูง แล้ว ในหลายบริษัทแล้ว