ชีวิตดีๆ ( Well-being ) สร้างได้ใน กรุงเทพฯ

 

                  ปัจจุบันเมืองต่างๆทั่วโลก ไม่ได้มุ่งเน้นการพัฒนาเมืองเพียงเฉพาะด้านความเจริญหรือโครงสร้าง

พื้นฐานเท่านั้น แต่ยังเน้นในด้านคุณภาพชีวิตมากกว่าแต่ก่อน ทำให้แนวคิด Wellness ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น โดยไม่ได้จำกัดความเพียงแค่ สุขภาพ เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึง Well-being ซึ่งหมายถึง ชีวิตที่ดีในทุกๆด้าน

ในทุกๆปี หน่วยงานที่มีชื่อว่า EIU หรือ Economist Intelligence Unit จะออกมาเปิดเผยผลคะแนนที่ได้ทำการสำรวจข้อมูลมาตลอดทั้งปี ภายใต้รายงานและคะแนนที่ชื่อ Global Livability Index ซึ่งเฟ้นหา เมืองน่าอยู่ ที่สุดในโลก โดยครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ ความมั่นคง, สาธารณสุข, วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม, การศึกษา และ โครงสร้างพื้นฐาน และจากบทความ กรุงเทพอยู่ตรงไหนใน เมืองน่าอยู่ ของโลก ก็ทำให้รู้แล้วว่า เมืองน่าอยู่ ที่สุดในโลกคือ เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย นั่นเอง

5 มิติของ Well-being ที่ทำให้เมืองน่าอยู่

                  แน่นอนว่าการจะมี ชีวิตที่ดีในทุกๆด้าน​ ( Well-being ) ได้ ย่อมต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกหลายอย่าง ดังนั้นเมืองหรือสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ให้คุณภาพชีวิตที่ดีเกิดขึ้น โดย EIU ได้กำหนดปัจจัยสำหรับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี หรือ เมืองน่าอยู่ ไว้ด้วยกัน 5 มิติ ได้แก่

Stability : เมืองสงบ จึงพบความน่าอยู่

                  ในด้านความสงบหรือความมั่นคง จะมองตั้งแต่อาชญากรรมในระดับย่อยๆ ไปจนถึงความรู้สึกโดนคุกคามที่ทำให้ไม่ปลอดภัย และยังรวมถึงความถี่ของการเกิดอาชญากรรมด้ัวย ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สงบและความไม่ปลอดภัยในเมือง

Healthcare : เมืองที่ดี ต้องมาพร้อมสุขภาพที่ดี

                  สุขภาพ คือสิ่งที่บ่งชี้ได้ง่ายและชัดเจนว่าสภาพแวดล้อมของเมืองเป็นอย่างไร สำหรับเกณพ์การพิจารณาของ EIU นั้น นอกเหนือจากเรื่องตัวชี้วัดด้านสุขภาพพลานามัยของประชากรเมืองทั่วไปแล้ว ยังมองในเรื่องของความพร้อมและคุณภาพในการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนในเมืองอีกด้วย นอกจากนั้นยังรวมถึงความพร้อมในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน

Culture and Environment : สภาพแวดล้อมดีมีสเน่ห์

                  สำหรับในด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้หมายถึง จารีตประเพณี แต่เป็นการพูดรวมๆถึง การใช้ชีวิต (Lifestyle) ภายในเมือง ตั้งแต่ สภาพอากาศ ข้อจำกัดทางสังคมและการอยู่ร่วมกัน สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมในด้านต่างๆ ทั้ง อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าและบริการ กีฬา การออกกำลังกาย และกิจกรรมอื่นๆ

Education : การศึกษาบ่งบอกคุณภาพชีวิต

                  เมืองที่ดีย่้อมมีการศึกษาที่ดีมอบให้ โดยมองถึงความพร้อมด้านการศึกษาทั้งในภาพรัฐและเอกชน ทั้งในด้านคุณภาพการเรียนการสอน อุปกรณ์การศึกษา สภาพแวดล้อมที่ดีภายในสถานศึกษา และการเข้าถึงที่สะดวกสบาย

Infrastructure : โครงสร้างพื้นฐานคือสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิต

                  โครงสร้างพื้นฐานจะเป็นสิ่งที่รัฐมอบให้ ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เกณฑ์การพิจารณาของ EIU ให้ความสำคัญทั้งในด้านความพร้อมและคุณภาพ ทั้ง โครงข่ายถนน ขนส่งมวลชน ที่อยู่อาศัยที่ดี ตลอดจนถึงคุณภาพของสาธารณูปโภคและสาธารณูปการด้วย

                  ซึ่ง เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้คะแนนรวมของ 5 ด้านเฉลี่ยที่ 99.1 คะแนน โดยมีเพียงด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่ไม่ได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยได้คะแนน 96.3 คะแนน

ปรากฎการณ์ใหม่ เมืองน่าอยู่สร้างได้

                  แน่นอนว่าการ รื้อของเก่า ย่อมซับซ้อนกว่า การสร้างของใหม่ ดังนั้นในหลายๆเมืองทั่วโลก จึงมีการสร้างย่านใหม่ที่มาพร้อมกับปัจจัยของการเป็นเมืองน่าอยู่ที่เพียบพร้อม โดยเป็นการพัฒนาทั้งจากภาครัฐและเอกชน

Sharjah Sustainable City, Dubai

            Sharjah City ถูกสร้างมาบนแนวคิดของ เมืองยั่งยืน (Sustainable City) ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ Shurooq และ Diamond Developers ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน โดยห่างจากตัวเมืองดูไบเพียง 28 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 354 ล้านเหรียญ

                  ในพื้นที่มากกว่า 285 ไร่ของโครงการ Sharjah City ประกองไปด้วยวิลล่าขนาด 3-5 ห้องนอน จำนวน 1,120 ยูนิต อาคารทุกหลังจะมีแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยพลังงานทั้งหมด 100% จะถูกหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงมีระบบบำบัดน้ำเสียและขยะหมุนเวัยน เพื่อนำมาใช้ใหม่

                  สิ่งที่ทำให้โครงการ Sharjah City กลายเป็น เมืองยั่งยืน ขึ้นมาจริงๆ นั่นก็คือ นอกเหนือจากสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายเช่นเดียวกับโครงการวิลล่าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คลีนิก สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ คอมมูนิตี้มอลล์ และ สวนขนาดใหญ่ แล้ว ในโครงการยังมีโรงเรียนที่รองรับนักเรียนได้ถึง 1,200 คน อีกทั้งยังมี Urban farm ของโครงการ เพื่อการทำฟาร์มอย่างยั่งยืนที่ลูกบ้านสามารถเข้ามาช่วยกันปลูกพืชผัก และหมุนเวียนกันไปบริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็น อะโวคาโด มะเขือเทศ มัลเบอร์รี่ เป็นต้น รวมไปถึงมี Experience Center ที่จะมีการจัดประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำฟาร์มอย่างยั่งยืนเป็นประจำ ที่สำคัญคือระบบการเดินทางภายในโครงการ จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น และถ้าหากลูกบ้านไหนไม่มี ก็จะได้รับเงินสนับสนุนถึง 10,000 เหรียญ เพื่อไปซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ด้วย

Sunsuria City, Malaysia

                  ใกล้ประเทศไทยมาอีกนิด ในประเทศมาเลเซีย มีโครงการ Sunsuria City ที่มีพื้นที่กว่า 1,328 ไร่ เป็นโครงการ Mixed-use บนแนวคิด Smart Livable & Sustainable (SLS) ที่ได้รับรางวัล Best Sustainable Township ในปี 2016 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า Express Rail Link (ERL)

                  ภายในโครงการ Sunsuria City ประกอบไปดวย ศูนย์การค้า โรงแรม ศูนย์ประชุม ร้านค้า รวมไปถึงบ้านพักอาศัย ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตแบบ All-in Lifestyle อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัย Xiamen University ใกล้โครงการ และยังมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีแบบ TOD อีกด้วย

จะมองหา ที่อยู่อาศัย ที่ทำให้ Well-being ได้ที่ไหนในกรุงเทพฯ ?

                  ถึงแม้ กรุงเทพฯ จะได้อันดับที่ 98 ในอันดับของ Global Livability Index เมืองน่าอยู่ของโลก ตามเกณ์ของ EIU แต่ก็ใช่ว่าในกรุงเทพฯ จะไม่สามารถมองหา ‘ ย่านน่าอยู่ ’ ได้เลย คำถามก็คือ แล้วย่านน่าอยู่ที่ว่านั้นอยู่ตรงไหนกันแน่?

                  ปี 2558 โครงการ ที77 (T77) พื้นที่กว่า 41 ไร่ บนทำเลที่มีการเติบโตสูงอย่าง อ่อนนุช หรือ สุขุมวิท 77 ได้เปิดให้บริการ โดยเป็นโครงการสร้าง ย่านน่าอยู่ ที่พร้อมตอบรับไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัย ประกอบไปด้วย ที่อยู่อาศัย 6 โครงการ ศูนย์การค้า Habito (ฮาบิโตะ) พร้อมด้วยร้านอาหาร ร้านค้า สถานที่ทำงาน และบริการต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนนานาชาติ Bangkok International Preparatory and Secondary School (บางกอกเพรพ) อีกด้วย ซึ่งนับเป็นโครงการแรกที่ แสนสิริ ได้พัฒนาย่านน่าอยู่ขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

                  ความสำเร็จจากโครงการ T77 ทำให้ แสนสิริ มุ่งม่ันในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิของคนเมืองได้ โดยมองว่าทำเล กรุงเทพกรีฑา เป็นทำเลที่พร้อมต่อการพัฒนาให้การเป็น ‘ ย่านน่าอยู่ อีกแห่งของกรุงเทพฯ

ด้วยแนวคิด The Next Best Living District และความตั้งใจของ แสนสิริ ที่จะพัฒนาเมืองเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีที่สุด จึงพัฒนาโครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2 บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ เพื่อให้เป็น Well-Living Town for the Next Generation โดยเข้ามาต่อยอดการพัฒนาจากปัจจัยพื้นฐานของทำเล กรุงเทพกรีฑา ที่พร้อมอยู่แล้ว ครบครันทั้ง 5 ด้านตาม Global Livability Index ที่ EIU ได้กำหนดไว้

  • ด้านความสงบ (Stability) : เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2 ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่ ผังเมืองสีเหลือง (ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) ห่างไกลเขตอุตสาหกรรม ทำให้สภาพแวดล้อมไม่แออัด เอื้อต่อการอยู่อาศัย พร้อมด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นที่ไว้วางใจจาก แสนสิริ

  • ด้านสุขภาพและสาธารณสุข (Healthcare) : ด้านสาธารณสุข ใกล้เคียงกันมีโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์, โรงพยาบาลปิยะเวท, โรงพยาบาลพระราม9 และ โรงพยาบาลกรุงเทพ นอกจากนั้น เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2 ยังร่วมมือกับ โรงพยาบาลสมิติเวช พัฒนา Samitivej Virtual Hospital โรงพยาบาลเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ตลอด 24 ชม. ทำให้ลูกบ้าน เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2 สามารถพบแพทย์ได้โดยไม่ต้องไปถึงโรงพยาบาล และยังมีบริการ Smart Emergency สำหรับกรณีฉุกเฉินอีกด้วย

  • ด้านสภาพแวดล้อม (Culture and Environment) : กรุงเทพกรีฑา มีแหล่งไลฟ์สไตล์หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Paseo Town, The Nine Center, The Park, Kurve7 และ Siam Future และในอนาคต โครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2 ยังเตรียมเปิดตัวคอมมูนิตี้มอลล์สำหรับลูกบ้านโครงการอีกด้วย ภายในโครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2 ได้ถูกออกแบบโดยยึดหลัก health & well-being ตามหลักการของ Wellness Communities

  • ด้านการศึกษา (Education) : เป็นทำเลที่ช่วยให้ผู้ปกครองไม่ต้องฝ่าฟันการจราจรเพื่อไปส่งบุตรหลานเรียนไกลถึงในเมือง เพราะมีโรงเรียนใกล้บ้านหลายแห่ง อาทิ Brighton International Collage, Wellington College International Bangkok (WCIB), โรงเรียนอุดมศึกษาพัฒนาการ และ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) นอกจากนั้น แสนสิริ ยังเตรียมพัฒนา Recreation Space เพื่อส่งเสริม IQ และ EQ ของเด็กเล็ก และยังจับมือกับ Brighton college ที่ออกแบบการเรียนการสอนที่เน้น Well-being อีกด้วย

  • ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) : ถนนกรุงเทพกรีฑาา สามารถเชื่อมกับถนนเส้นหลักอื่นๆได้หลายเส้นทาง ถนนพระราม9 พนนศรีนครินทร์ ถนนรามคำแหง มอเตอร์เวย์ และ ถนนกาญจนาภิเษก ทำให้การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวนั้นสะดวกสบาย อีกทั้งในอนาคตอันใกล้ยังจะเชื่อมกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (สถานีศรีกรีฑา) และ รถไฟฟ้าสายสีส้ม (สถานีศรีบูรพา) อีกด้วย

 

  • พื้นที่นันทนาการ & ถนนสายสีเขียว (Recreation Space & The Greenery Line) : การส่งเสริมพัฒนาด้าน EQ และ IQ ของเด็ก ๆ ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ด้านต่างๆ มีทั้งในรูปแบบทั้งในร่มและกลางแจ้ง ที่คาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2564 รวมถึงอีกความโดดเด่นของเมือง Well-living Town for the Next Generation หรือ เมืองคุณภาพชีวิตเพื่ออนาคต ยังประกอบด้วย “The Greenery Line” หรือ ถนนสีเขียวขนาบด้วยต้นไม้พร้อมด้วยเลนจักรยานและเสาไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์วางระบบด้วยสายไฟลงใต้ดิน ตลอดแนวระยะทางกว่า 1.7 ก.ม. ที่จะตัดผ่านพื้นที่ 300 ไร่ ทะลุสู่ถนนศรีนครินทร์ - ร่มเกล้า และถนนรามคำแหงได้ในเวลาเพียง 2 นาที โดยจะเปิดใช้งานทะลุสู่ทั้ง 2 เส้นทางได้ในปี 2564

                  ความตั้งใจในการพัฒนา ย่านน่าอยู่ จาก แสนสิริ ไม่ได้เพียงแค่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรเมืองเท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นที่จะให้เป็นไปตามหลักสากล โดยได้รับมาตรฐาน WELL Certification จาก International WELL Building Institute ที่พร้อมแล้วสำหรับการสร้าง well-being ให้กับลูกบ้าน

สนใจโครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 2 คลิก - https://www.sansiri.com