ปัจจุบันราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์สร้างใหม่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การมองหา บ้านมือสอง เป็นอีกทางเลือกของผู้อยากมีบ้าน และความต้องการ บ้านมือสอง เองก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นสูงเรื่อยๆในอนาคต จนจะสามารถเป็นสินค้าทดแทน บ้านมือหนึ่ง ได้เลยทีเดียว โดยการซื้อ บ้านมือสอง ย่อมดีและเหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณไม่พอสำหรับ บ้านมือหนึ่ง แต่หากว่าคุณยังไม่ได้อ่านบทความนี้ อย่าเพิ่งตัดสินใจซื้อ บ้านมือสอง ที่ไหน เพราะอาจจะเจ็บใจในภายหลังได้ TerraBKK ขอแนะนำวิธีการเลือก บ้านมือสอง ที่คุ้มค่าและรอบคอบที่สุดในบทความนี้

มองหา บ้านมือสอง ทำเลที่ดีทั้งตอนนี้ละอนาคต

            จากข้อมูลของเว็บไซต์ terrabkk.com ที่รวบรวมข้อมูล บ้านมือสอง ทุกประเภท อาทิ คอนโดมิเนียม, ทาวน์โฮม, ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว ซึ่งพบว่าทำเลที่มีการค้นหา บ้านมือสอง สำหรับปล่อยขายมากที่สุด คือทำเลรังสิต บริเวณธัญบุรี

รังสิตคลอง 2-4 และมีการค้นหา ทาวน์โฮมมือสอง สำหรับขายมากที่สุดในทำเล รามอินทรา-วัชรพล ซึ่งทั้งสองทำเลเป็นทำเลที่อยู่อาศัยยอดนิยม มีโครงการทั้งเก่าและใหม่มากมาย แต่โครงการใหม่ก็มีการขยับขึ้นของราคาเรื่อยๆเช่นกัน

            ในขณะเดียวกัน หากวางแผนอนาคตในระยะยาวสำหรับการปล่อยเช่าบ้าน ทำเลที่มีการค้นหา บ้านมือสอง สำหรับปล่อยเช่ามากที่สุดประเภททาวน์โฮม คือทำเล ลโยธิน- รังสิต, บางใหญ่ และ นวมินทร์-รามคำแหง โดยมีราคาขายไม่สูงมาก คือตั้งแต่ราคา 1.2-3.5 ล้านบาท สามารถปล่อยเช่าได้ไม่เกิน 20,000 บาท/เดือน

            ความนิยมของการค้นหา บ้านมือสอง สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า ทำเลเหล่านี้คือทำเลที่อยู่อาศัยยอดนิยม มีความหนาแน่นในการอยู่อาศัย ซึ่งทำให้ทำเลนี้จะมีการพัฒนาเรื่อยๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของทำเล รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยเช่นกัน

ตรวจสอบความถูกต้องและข้อมูลทำเล

            ประเด็นสำคัญอีกหนึ่งเรื่องก็คือ โอกาสในอนาคตของทำเลที่เราลือก ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ บ้านมือสอง หากมีทำเลที่ต้องการในใจอยู่แล้ว ควรตรวจสอบว่าทำเลที่เราต้องการในอนาคตนั้นจะมีการเวนคืนหรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้กับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยหรือกรมทางหลวงในเขตที่สังกัด หรือสามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานเขตนั้นๆ

            นอกจากความเสี่ยงเรื่องการเวนคืนในอนาคตแล้ว เรื่องความถูกต้องของการก่อสร้างบ้านก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อป้องกันความยุ่งยากในอนาคต โดยนำเลขทะเบียนบ้านไปตรวจสอบกับงานโยธาหรือกองช่างของเทศบาล ว่ามีการสร้างผิดแบบหรือผิดเงื่อนไขการขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่ รวมไปถึงหากบ้านมีการต่อเติม ก็ควรตรวจสอบว่าการต่อเติมนั้นเป็นไปตามที่ขออนุญาตหรือไม่

            อีกทั้งควรตรวจสอบเรื่องค่าสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ หรืออื่นๆ ควรตรวจสอบกับสำนักงานเขตว่าเจ้าของบ้านเดิมมีการค้างชำระหนี้หรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการปรับและจ่ายย้อนหลัง

ตรวจสอบสภาพบ้าน

            ขั้นตอนเกือบสุดท้ายเพื่อการตัดสินใจหลังจากที่ตรวจสอบแล้วว่าทั้งทำเลและตัวบ้านไม่มีปัญหาค้างคาอะไร โดยการตรวจสอบสภาพบ้าน ควรดูจากโครงสร้างบ้านที่สำคัญเป็นหลักมากกว่าร่องรอยเล็กๆน้อยๆ ซึ่งโครงสร้างหลักของบ้านนี้ ได้แก่ โครงสร้างเสาและคานรับน้ำหนัก ซึ่งเป็นเหมือนเสาหลักที่ค้ำจุนบ้าน โดยวิธีการตรวจสอบ  บ้านมือสอง คือ

  • ตรวจสอบว่าโครงสร้างเสาและคานรับน้ำหนักมีการตั้งฉากหรือไม่
  • ตรวจสอบว่ามีรอยร้าวของเนื้อคอนกรีตที่เป็นโครงสร้างข้างในของเสาและคานหรือไม่
  • ตรวจสอบท้องพื้นของชั้นสองว่ามรอยร้าวหรือไม่สำหรับบ้านสองชั้น
  • ตรวจสอบรอยร้าวบรเวณมุมผนัง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงโครงสร้างบ้าน

           

            นอกจากโครงสร้างหลักแล้ว ควรตรวจสอบงานระบบทั้งน้ำไฟ เพื่อเช็คว่ามีการทำงานปกติหรือชำรุดเสียหายหรือไม่ เพื่อต่อรองกับเจ้าของบ้านเดิมสำหรับการซ่อมแซม โดยควรทดสอบเปิดก็อกน้ำทุกจุด ดูรอยรั่วซึมจากฝ้า เพดาน พื้น หนัง ว่ามีการพอง บวม และมีคราบหรือไม่ การตรวจระบบสายไฟ ควรดูว่ามีร่องรอยฉีกขาดหรือไฟรั่วหรือไม่

ตรวจสอบและเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจ

            เมื่อตรวจเช็คทุกอย่างแล้ว ลองเปรียบเทียบราคาบ้านในละแวกทำเลเดียวกันเพื่อต่อรองหาราคาที่เหมาะสมกับเจ้าของบ้านเดิม และเพื่อเริ่มติดต่อขอสินเชื่อกับธนาคาร ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ธนาคารจะเข้ามาประเมินราคา เพื่อให้แน่ใจว่า บ้านมือสอง หลังนี้มีราคาขายที่เหมาะสมจริงตามนั้นหรือไม่

การขอสินเชื่อกับธนาคาร

             ปัจจัยนำมาพิจารณาในการขอสินเชื่อจะไม่ต่างจากสินเชื่อบ้านใหม่ ทั้งความสามารถในการผ่อน, อัตราดอกเบี้ย ,ระยะเวลาผ่อน ,ประเภทของหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือ บ้านมือสอง ที่จะซื้อ และเงินดาวน์หรือเงินวางมัดจำ เป็นต้น

           การเตรียมเอกสารด้านกรรมสิทธิหลักทรัพย์ : สำเนาโฉนดที่ได้รับต้องมีขนาดเท่ากับตัวต้นฉบับจริงซึ่งจะขอได้จากผู้ขาย

           เตรียมเอกสารการเงินเพื่อเตรียมยื่นสินเชื่อ 

           ความสามารถผ่อนชำระ : คำนวณรายได้ของตัวเองเพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระที่เหมาะสม โดยยอดผ่อนชำระที่สามารถผ่อนชำระได้ควรประมาณ 1ใน 3 ของรายได้รวมต่อเดือน

           หลักฐานการเงิน : เตรียมหลักฐานทางการเงิน ได้แก่หลักฐานเงินได้เข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 6 เดือน และควรมีเงินออมสะสมไม่ว่าจะเป็นเงินฝากประจำหรือการมีเงินฝากออมทรัพย์เพื่อเป็นเงินดาวน์ ประมาณ 10-15% ของงบประมาณในการซื้อบ้าน จะช่วยให้การยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารต่างๆ ง่ายขึ้นและช่วยลดภาระการผ่อนบ้านต่อเดือนไม่ให้เป็นภาระหนักเกินไปด้วย

           เตรียมเงินสำหรับ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าประเมินราคา, ค่าโอน , ค่าอากร และ ค่าจดจำนอง เป็นต้น ---TerraBKK


บทความโดย : TerraBKK ค้นหาบ้านมือสอง

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก