ความจริงแล้ว ประเทศไทยเรามีการจัดระเบียบและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินมาตั้งแต่รัชการที่ 5 (กรมโยธาธิการจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2432) สืบต่อมาจนปัจจุบัน ซึ่งข้อบังคับผังเมืองควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพมหานคร รอบล่าสุดคือ “ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖” ส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยบ้างในเรื่องผังสีการใช้ประโยชน์ที่ดินตามจำแนก เช่น เขตสีแดง เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรม , เขตสีน้ำตาล เป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เป็นต้น สิ่งที่มากกว่านั้นคือข้อมูลหลายอย่างที่เราไม่ทันสังเกต เช่น ผังโครงการคมนาคมและขนส่ง , ผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เช่น โครงการขุดคลอง , โครงการอุโมงค์ระบายน้ำ เป็นต้น รวมทั้ง ผังพื้นที่โล่งซึ่งกลายเป็น “ พื้นที่รับน้ำ” ด้วย 


             TerraBKK กำลังกล่าวถึงเรื่อง “ ผังแสดงที่โล่งท้ายกฎกระทรวง ฯ “ ที่กำหนดการใช้ประโยชน์ที่โล่งตาม 6 วัตถุประสงค์ เรียกว่า ล.๑ - ล.๖ โดย ล.๑. เป็นที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม , ล.๒. ที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณริมถนน , ล.๓ ที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมริมแม่น้ำและลำคลอง และ ล.๖ ที่โล่งเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล รวมทั้ง “ พื้นที่รับน้ำ” พระเอกของเราในบทความนี้ ลักษณะเพื่อการระบายน้ำ และเพื่อพักน้ำป้องกันน้ำท่วม ดังนี

 พื้นที่เพื่อการระบายน้ำ 


            “ พื้นที่รับน้ำ” ในลักษณะ ล.๔. จะเป็นที่โล่งในบริเวณกำหนดไว้เป็น “สีขาวมีเส้นทแยงสีเขียว” เพื่อการสงวนรักษาสภาพการระบายน้ำตามธรรมชาติ แบ่งเป็น 2 ฝั่งของกรุงเทพมหานคร นั้นคือ ด้านตะวันออก จะเป็นพื้นที่บางส่วนของ เขตคลองสามวา , เขตมีนบุรี และ เขดลาดกระบัง ด้านตะวันตก จะเป็นพื้นที่บางส่วนใน เขตตลิ่งชัน , เขตทวีวัฒนา , เขตบางแค และ เขตภาษีเจริญ

 

 พื้นที่พักน้ำป้องกันน้ำท่วม 


            “ พื้นที่รับน้ำ” ลักษณะ ล.๕. ก็คือที่โล่งในบริเวณที่กำหนดไว้เป็น “สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีเขียว” เพื่อพักน้ำเพื่อการป้องกันน้ำท่วม ตั้งกระจายไปทั่วพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกอีกชื่อว่า “โครงการแก้มลิง” พระอัจฉริภาพของในหลวงรัชการที่ 9 เข้าแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มาตั้งแต่ปี 2523 โดย “ พื้นที่รับน้ำ” เหล่านี้มีทั้ง แก้มลิงเอกชน อยู่ในพื้นที่เอกชนหรือหมู่บ้านจัดสรร และ แก้มลิงสาธารณะ อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
            ปัจจุบันมี พื้นที่รับน้ ปฎิบัติการแล้วมี 25 แห่ง รับน้ำได้ราว 13.04 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งอยู่แถบใจกลางกรุงเทพเป็นส่วนใหญ่ เช่น เขตปทุมวัน , เขตคลองเตย , เขตพญาไท ,เขตบางกะปิ ,เขตประเวศ เป็นต้น ส่วน พื้นที่รับน้ำ อยู่ระหว่างก่อนสร้างมี 2 แห่ง สามารถรับน้ำได้เพิ่มอีก 316,700ลูกบาศก์เมตร อยู่ถนนรามคำแหงในเขต สะพานสูง คือ บึงรับนํ้าหมู่บ้านสัมมากร และ สวนนํ้าเสรีไทยช่วงคลองรหัสถึงคลองครุ นอกจากนี้ ยังมี พื้นที่รับน้ำ จัดหาเพิ่ม ราว 12 แห่ง กระจายตัวถัดมาแถบชายเมืองของกรุงเทพมหานคร เช่น เขตสายไหม ,เขตคลองสาม เป็นต้น มีทั้งพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เอกชน คาดการณ์ว่าจะรับน้ำได้เพิ่มราว 6.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนี้

 

            แม้ว่า พื้นที่รับน้ำ ส่วนใหญ่จะอยู่ทางฝั่งตะวันออก เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรอยู่อาศัยสูง แต่ทางฝั่งตะวันตกเอง ก็มีโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-สนามชัย" เพื่อช่วยระบายน้ำท่วมขังพื้นที่ตอนบนฝั่งตะวันตกเช่นกัน ท้ายนี้ TerraBKK ขอเป็นกำลังใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันปฏิบัติงานตามแนวทางโครงการแก้มลิง พระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อผ่อนเบาปัญหาน้ำท่วม และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนกรุงเทพ --- TerraBKK


ภาพและข้อมูลอ้างอิง : สำนักผังเมือง   สำนักการระบายน้

บทความโดย : TerraBKK เคล็ดลับการลงทุน
TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก